Checklist ความปลอดภัยให้เบบี้

เรื่อง : สิริพร
ความปลอดภัยของลูกน้อยในวัยเบบี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกค่ะ คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องใส่ใจและดูแลเจ้าตัวเล็กอย่างใกล้ชิดในทุก ๆ เรื่องแม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ก็ไม่ควรมองข้ามนะคะ อยากจะชวนคุณพ่อคุณแม่มากันดูค่ะว่ามีเรื่องไหนที่เราเคยทำ แล้วเสี่ยงต่อความปลอดภัยของเจ้าตัวเล็กกันบ้าง
มีถุงพลาสติก หรือลูกโป่งอยู่ใกล้ตัวเบบี้ ?
อย่ามองข้ามถุงพลาสติกที่คุณแม่ใส่ของหิ้วเข้าบ้านนะคะ เพราะหากเอาของออกแล้ว ไม่ทันเก็บให้ดี เจ้าตัวเล็กที่นั่งอยู่ใกล้ ๆ อาจเผลอหยิบเล่นเข้าปาก หรือครอบหัวจนหายใจไม่ออก ส่วนลูกโป่งหากแตก เศษลูกโป่งก็อาจกระเด็นเข้าตา หรือดีดใส่หน้าจนได้รับอันตรายได้
Safety for baby : เจ้า ตัวเล็กอยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็นอยากสำรวจสิ่งใกล้ตัว ฉะนั้นความสะอาด และความปลอดภัยของสิ่งของที่ลูกจะคว้าจับได้จึงสำคัญ คุณแม่จึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เช่น หากมีลูกโป่ง หรือของที่ลูกสามารถบีบแตกได้อยู่ในบริเวณที่ลูกคว้าจับได้ง่าย คุณแม่ต้องรีบเก็บให้ห่างจากมือลูกโดยเร็ว แต่หากลูกอยากเล่นของเล่นลูกกลม ๆ ก็ลองหาลูกบอลที่เป็นผ้านุ่มนิ่ม ที่ไม่อันตรายจะดีกว่าค่
คุณพ่อสูบบุหรี่ตอนเบบี้ไม่อยู่บ้าน ?
ควันบุหรี่ที่ถูกพ่อออกมาเป็นสารพิษชนิดเดียวกันกับที่สูบเข้าไปค่ะ ถึงคุณพ่อจะสูบตอนที่ลูกเบบี้ไม่อยู่บ้าน หรือไม่อยู่บริเวณนั้นขณะสูบ สารพิษนี้ก็คงยังล่องลอยอยู่ในอากาศ ทำให้บรรยากาศและคนในบ้านแย่ตามไปด้วย
Safety for baby : หากอยากจะให้เจ้าตัวเล็กของเราห่างไกลจากควันบุหรี่ คุณพ่อไม่ควรสูบบุหรี่ที่บ้านเลยดีที่สุดค่ะ และพยายามจัดบรรยากาศทั้งในและนอกบ้านให้ปลอดโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกอยู่ เสมอ เช่น มีการกำจัดฝุ่นตามโต๊ะ ตู้ พื้นห้องทุกวัน เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อรับแสงและลมธรรมชาติบ้าง นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วยให้ลูกน้อยได้สูดอากาศบริสุทธิ์เข้าปอดอีกด้วย
ลืมเช็กวันหมดอายุยาของเบบี้ ?
ยา ของลูกเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษค่ะ โดยเฉพาะยาน้ำลดไข้ของลูกที่มักมีติดบ้านอยู่เสมอ หากเป็นยาที่เก็บไว้นาน ไม่ใช่เพียงประสิทธิภาพของยาจะลดลงเรื่อย ๆ แต่อาจกลายเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลย
Safety for baby : โดยทั่วไปยาน้ำที่ยังไม่ได้เปิดใช้จะเก็บไว้ได้ 3 ปีนับจากวันผลิต แต่หากเปิดใช้ป้อนให้ลูกกินแล้ว อาจมีการปนเปื้อนและเสียได้ในเวลา 2-3 วัน คุณแม่จึงควรปิดฝาให้สนิทหลังเปิดใช้ แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นก็จะอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน หากเลยเวลานี้ไปก็ควรทิ้ง ซื้อใหม่ปลอดภัยกว่าค่ะ เพราะยาที่หมดอายุบางตัวทำให้กระเพาะอาหารของลูกน้อยระคายเคืองได้
ให้เบบี้คลานเล่นบนพื้นที่ไม่สะอาด ?
ลูกน้อยวัย 5-6 เดือน เริ่มคลานได้แล้ว บริเวณพื้นที่ลูกคลานหากไม่สะอาด แข็ง หรือลื่นเกินไป ลูกอาจรู้สึกเจ็บ หรือทรงตัวได้ไม่ดี
Safety for baby : ก่อนวางลูกลงพื้นควรทำความสะอาดพื้นให้เรียบร้อยก่อนนะคะ เพราะบริเวณที่ลูกคลานจะต้องปราศจากเชื้อโรค และฝุ่นละอองสิ่งสกปรกต่าง ๆ คุณแม่อาจหาผ้าหรือเบาะนุ่ม ๆ ปูรองพื้นให้ลูกก่อนที่จะคลาน ก็จะช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูกน้อยได้
ใช้ผงซักฟอกซักชุดสวยให้เบบี้ ?
หากใช้ผงซักฟอกที่มีความเข้มข้นซักเสื้อผ้าให้เบบี้ นอกจากจะทำให้เสื้อผ้าเสื่อมสภาพได้เร็วแล้วอาจทำให้ผิวของลูกระคายเคือง หรือเป็นผื่นคันได้
Safety for baby : คุณแม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับซักเสื้อผ้าเด็ก เพราะมีความอ่อนโยนกับเนื้อผ้า เมื่อลูกได้สวมใส่ก็ไม่ทำให้ระคายเคือง และไม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผสมน้ำหอม เพราะสารเคมีที่เพิ่มกลิ่นหอมที่ผสมในน้ำยาซักผ้า อาจตกค้างที่ชุดสวยของลูก หากสะสมนาน ๆ ก็อาจทำให้ลูกกระคายเคือง หรือเป็นผื่นคันได้เช่นกันค่ะ
ให้เบบี้เล่นของเล่นชิ้นเล็ก ๆ ?
ของ เล่นที่มีขนาดเล็ก ลูกปัด หรือเม็ดกระดุมของคุณแม่ที่อาจตกอยู่ที่พื้น หากเจ้าตัวเล็กเผลอหยิบเข้าปาก นอกจากจะเต็มไปด้วยเชื้อโรคแล้ว อาจติดคออันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ
Safety for baby : ก่อนที่จะให้ลูกลงนั่งเล่นอยู่ที่พื้นคุณแม่อย่าลืมสังเกตด้วยค่ะว่าบนพื้น มีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ เช่น เศษกระดุม เศษสตางค์ที่ทำหล่นโดยไม่รู้ตัว หากมีต้องเก็บให้หมดก่อน รวมถึงของเล่นของลูกที่มีขนาดเล็ก เช่น ตัวต่อ บล็อกไม้ ตุ๊กตาสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นยาง เวลาที่ลูกเล่นคุณแม่ต้องคอยอยู่ข้าง ๆ นะคะ เพื่อคอยระวังไม่ให้เขาหยิบเข้าปาก นอกจากป้องกันอันตรายให้ลูกได้แล้ว เรายังได้เฝ้ามองพัฒนาการของเขาอย่างใกล้ชิดอีกด้วยค่ะ
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ สามารถสำรวจความปลอดภัยให้ลูกน้อยได้ง่าย ๆ ค่ะ เพียงหมั่นสังเกตและใส่ใจดูแลอย่างสม่ำเสมอ เจ้าตัวเล็กของเราก็พร้อมเรียนรู้โลกกว้างอย่างปลอดภัยแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : รักลูก ปีที่ 31 ฉบับที่ 361 กุมภาพันธ์ 2556
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
การเลือกคาร์ซีท carseat ที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณทำไมถึงต้องใช้คาร์ซีท carseat ที่มีความปลอดภัยจึงจำเป็นต่อคุณและลูกน้อยล่ะ? หลายประเทศได้ออกกฏหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของคาร์ซีท carseat สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ขวบ เนื่องจากคุณจะต้องใช้คาร์ซีท carseat ที่มีความปลอดภัยเพื่อป้องกันลูกน้อยจากอันตราย หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ขณะที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้โดยสารมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฏจราจร และหากคุณเดินทางพร้อมกับลูกน้อย โดยที่คุณจะต้องอุ้มลูกไว้ที่ตัก ก็อาจจะมีโอกาสที่คุณไม่สามารถที่จะอุ้มลูกได้อย่างมั่นคงและเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นลูกของคุณก็มีโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บสูงค่ะ ดังนั้นการมีคาร์ซีท ที่ปลอดภัยในรถยนต์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยลดการบาดเจ็บของลูกน้อยได้ ทั้งนี้พึงระวังไว้ว่าการใช้คาร์ชีทที่ไม่ถูกต้อง อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่เด็กมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุด คุณควรต้องเลือกใช้คาร์ซีท carseat ให้ถูกต้องพร้อมกับศึกษาการใช้งานอย่างถูกวิธีด้วยนะค่ะ หากไม่มีคาร์ซีท carseat ที่ปลอดภัยแล้ว อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า จากสถิติได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบนั่งบนรถยนต์ที่ปราศจากคาร์ซีท carseat ที่ปลอดภัยและประสบอุบัติเหตุ อัตราการเสียชีวิตจะมากกว่าการนั่งบนรถยนต์ที่ติดตั้งคาร์ซีท carseat ที่ปลอดภัยถึง 4 เท่า***ข้อควรระวัง เมื่อใช้งานคาร์ซีท carseat ไม่ถูกวิธี จากผลสำรวจเมื่อปี 2008 โดยองค์การทางรถยนต์ประเทศญี่ปุ่น ( Japan Automobile Federation :JAF) เกี่ยวกับการใช้งาน คาร์ซีท carseat พบว่า 32.7 % ของคาร์ซีท carseat ที่ใช้งานนั้นติดตั้งอย่างไม่แน่นหนา ขณะที่อีก 67.3 % นั้นถูกพบว่ายังใช้งานได้ไม่ถูกต้องนัก ไม่ว่าจะเป็นการรัดสะโพกที่หลวมเกินไป หรือ การใช้งานที่หัวเข็มขัดที่ใช้ยึดที่นั่งไม่เหมาะสม ถึงแม้ว่าคุณจะเลือกใช้คาร์ซีท carseat ที่ถูกต้องแล้ว แต่หากการใช้งานไม่ถูกวิธีก็เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับเด็ก เพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานคาร์ซีทให้ถูกต้อง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อคาร์ซีท คุณควรศึกษาข้อมูลว่า คาร์ซีท […]
Aprica ก่อตั้งเมื่อปี 1947 ปี โดยทีมกุมารแพทย์จากประเทศญี่ปุ่น ด้วยความห่วงใยและใส่ใจเกี่ยวกับเด็กทารก เพราะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก จึงได้ช่วยกันคิดค้นและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นอย่างพิถีพิถัน โดยมีเป้าหมายคือการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็กและพ่อแม่ ด้วยความเชี่ยวชาญและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 70 ปี Aprica จึงได้รับการยอมรับและไว้ว่างใจอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น Aprica เป็นบริษัทแรกในโลก ที่มีการใช้หุ่นจำลองเด็กทารกขนาด 5 kg. ที่มีมูลค่าสูงถึง 30 ล้านบาท โดยหุ่นจำลองนี้มีข้อต่อและอวัยวะในร่างกายเช่นเดียวกับเด็กทารก ติดตั้งเซ็นเซอร์ตัวรับสัญญาณในส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย เพื่อตรวจวัดการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการกระแทกในอุบัติเหตุจำลองรูปแบบต่างๆ ได้รับรางวัลทรงเกียรติจากสถาบันนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น
Q: ขวดนมที่ไม่มี BPA ปลอดภัย ใช้ได้นานกว่า ? A :ขวดนม PP ไม่มี BPA อายุการใช้งานสั้นกว่า PC ที่มี BPA โดยทั่วไป พลาสติกแต่ละชนิด จะมีอายุการใช้งานที่ต่างกัน ยิ่งต้ม ยิ่งนึ่ง ยิ่งขัด ก็ยิ่งเสื่อมสภาพเร็ว ทั้งนี้ คุณภาพและการผลิตพลาสติกของแต่ละโรงงานย่อมต่างกัน ขวด PP ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงไม่ผสมเศษงานมักจะใสกว่า คุณแม่อาจพิจารณาเปลี่ยนขวดนมเมื่อเห็นว่าเริ่มบุบเบี้ยว หรือ ขวดนมขุ่นมากขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม อายุการใช้งานจะสิ้นสุดถ้าขวดนมเป็นรอยขูดข่วน จึงควรล้างขวดนมด้วยแปรงขนนิ่ม ฟองน้ำ หรือแปรงซิลิโคน ***ดังนั้น อย่ากังวลกับฉลากและ โฆษณา “BPA-Free” ให้มากนัก หันมาดูวัสดุ และการดูแลรักษาให้ปลอดภัยจะดีกว่า ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : SS Medical Clinic โดย พ.ญ.สิทธิ์ธีราห์ ชโรเต้อร์ หรือใช้การฆ่าเชื้อด้วยแสงรังสี UV (Prince&Princess Baby UV Sterilizer) นวัตกรรมใหม่สำหรับการดูแลลูกน้อยให้พ้นจากเชิ้อโรค ได้ถึง […]
ว่าที่คุณแม่มือใหม่หลายคนคงจะปวดหัวไม่น้อย ว่าลูกน้อยของเราควรจะหนุน หมอนทารก นอนหรือไม่ แล้ว หมอนหัวทุย จำเป็นไหม กดมือถือหาข้อมูลทีไรก็หาข้อสรุปไม่ได้เสียที ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจให้หายสงสัยกันค่า หมอนทารก ทารกควรหนุนหรือไม่ คำแนะนำจากกุมารแพทย์ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกล่าวว่า ท่านอนที่ดีและปลอดภัยสำหรับทารกที่สุดก็คือ การนอนหงายโดยไม่หนุนอะไรทั้งสิ้น เพราะสรีระของกะโหลกศีรษะของทารก ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ทำให้พอดีในการนอนแล้วถึงแม้จะนอนหงาย และนอกจากนี้จะต้องไม่มีสิ่งของอื่นๆ เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา ของเล่น ฯลฯ อยู่บนเตียงขณะลูกน้อยนอนหลับ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการนอน หรือโรคไหลตายในทารก (SIDS) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตเด็กๆ มากมายทั่วโลก และโรคนี้มักจะเกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 4 เดือนมากที่สุด โดยที่เด็กยังแข็งแรงดีอีกด้วย แม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่หนึ่งในปัจจัยที่ชัดเจนและกระตุ้นให้เกิดการเสียชีวิตคือการที่มีผ้า วัตถุนุ่มๆ หรือการใช้ที่นอนที่อ่อนยวบเกินไป ไปอุดกั้นทางเดินหายใจของลูก จากการที่ลูกเกิดพลิกตัวนอนคว่ำ หรือคว้าวัตถุเหล่านั้นมาโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งเด็กยังเล็กเกินไปที่จะชันคอหรือพลิกตัวกลับได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ทารกจึงยังไม่จำเป็นต้องใช้หมอนหนุนนอนจนกว่าจะเข้าสู่วัยเตาะแตะหรือ 18 เดือนขึ้นไป หรือช้ากว่านั้นได้ยิ่งดีค่ะ กลัวลูกหัวแบน ทำไงดี อีกหนึ่งความกังวลใหญ่ของบรรดาแม่ๆ คือ กลัวลูกหัวแบน เพราะต้องนอนหงายตลอดเวลา ปัจจุบันจึงได้มีการผลิตคิดค้นหมอนหนุนสำหรับทารกเพื่อป้องกันหัวแบน และลูกน้อยยังคงนอนหงายได้ด้วย แต่ทั้งนี้คุณหมอและผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่แนะนำให้ใช้หมอนหนุนมากนัก เพราะหากใช้หมอนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ […]
” ลูกติดเต้า ไม่ยอมใช้ขวดนมเลย ทำอย่างไรดี ? เริ่มให้ลูกหย่านมจากเต้า มาฝึกใช้ขวดนมเมื่อไหร่ดี ? ” อีกคำถามที่แม่ๆหลายคนมักเจอตอนลูกน้อยอายุ 1 ขวบ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เลี้ยงลูกน้อยด้วยนมจากเต้าเพียงอย่างเดียว วันนี้ BabyGift มีเคล็ดไม่ลับมาฝากแม่ๆกันค่ะ ต้องขอเกริ่นก่อนว่า ความจริงแล้วการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ด้วยคุณค่าของน้ำนมความอบอุ่นและอื่นๆ แต่เมื่อลูกรักโตขึ้น หลายคนที่ดูดนมแม่จากเต้าจนติด หรือที่เรียกว่า ” ลูกติดเต้า “ งอแงไม่ยอมกินนมจากขวด เวลาที่คุณแม่ต้องออกไปทำงานหรืออยู่นอกบ้าน การให้นมแม่จากขวดนม หรือการเริ่มหย่านมแม่ มักจะเกิดปัญหาตามมาเพราะลูกไม่ยอมกินนมจากขวด งอแงร้องไห้ จนเกิดปัญหาการกินกับลูกได้ และปัญหาการใช้ชีวิตของคุณแม่เอง ฉะนั้นมาดูกันเลยค่ะว่าจะมีเทคนิคแบบไหน ที่สามารถทำให้ลูกได้ฝึกกินนมจากขวดได้ โดยไม่หักดิบ ไม่ทำให้ลูกร้องไห้งอแง หงุดหงิดเสียใจ คุณแม่เองก็ไม่ต้องเครียดไปด้วย ตามมาดูกันเลยค่ะ 8 ทริค ฝึกลูกดูดนมขวดแบบแฮปปี้ 1 ) ค่อยๆ ฝึก ไม่บังคับลูกเพราะการดูดขวดคือทักษะใหม่ของลูกรักที่เคยแต่ดูดนมแม่จากเต้ามาตลอด จนกลายเป็นว่า ลูกติดเต้า รวมถึงวิธีการดูดนมจากขวดกับการดูดนมจากเต้าก็มีความแตกต่าง จึงต้องอาศัยเวลาให้ลูกปรับตัวและฝึกฝน รวมถึงลูกรักเองก็ต้องใช้สมาธิในการดูดมากขึ้นในช่วงแรก ฉะนั้นการทำความเข้าใจไม่บังคับ และให้ลูกได้ลองฝึกในสิ่งแวดล้อมที่เงียบและสงบค่อย […]
คาร์ซีทปลอดภัย สำหรับเด็กแรกเกิด จะต้องดูจากอะไรบ้าง วันนี้ BabyGift จะมาบอกวิธีดูคาร์ซีทที่ปลอดภัย แบบลึกซึ้งถึงโครงสร้างกันเลยค่ะ เพราะทุกวัสดุที่ประกอบอยู่ในคาร์ซีทนั้น มีผลต่อความปลอดภัยของลูกน้อยมาก และก่อนคุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีทให้ลูกรัก นี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้เลยค่ะ โครงคาร์ซีท ทำจากอะไร แบบไหนที่ปลอดภัย 1. โครงพลาสติกทั่วไป (PP) พลาสติกมีความแข็งแรง ทนต่อการกระแทก มีน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่มักจะใช้ภายในห้องโดยสารรถยนต์ เช่น แผงประตู หรือ คอนโซลรถ เมื่อใช้พลาสติก 100% ทำเป็นโครงคาร์ซีทสำหรับเด็กโตโดยเฉพาะ ที่น้องมีสรีระแข็งแรงแล้ว ก็เพียงพอต่อการปกป้องน้องให้ปลอดภัยค่ะ แต่สำหรับเด็กแรกเกิด ที่สรีระบอบบาง ต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ การใช้พลาสติก 100% เลย อาจจะไม่พียงพอ โครงคาร์ซีทควรจะเสริมด้วยวัสดุอื่น ๆ เพิ่มความแข็งแรงด้วย เช่น เสริมด้วยไฟเบอร์กลาส 2. โครงพลาสติก เสริมไฟเบอร์กลาส ไฟเบอร์กลาส หรือ เส้นใยแก้ว จะใช้เพื่อเสริมความแข็งแรงเป็นพิเศษ ใช้แทนโลหะได้เลย เช่น ทำชิ้นส่วนเครื่องบินเล็ก ทำชิ้นส่วนรถแข่ง เพราะทนต่อการถูกกระแทก ทนต่อการฉีกขาด มีน้ำหนักเบา และยังสามารถดัดโค้งจัดรูปทรงได้ ไม่เปราะง่าย ในการทำโครงคาร์ซีทเด็กแรกเกิด […]

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา The Crystal รามอินทรา
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.