วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก ทำอย่างไรไม่ให้เหม็นหืน

ความปรารถนาสูงสุดของคุณพ่อคุณแม่ คือการได้เห็นลูกน้อยเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมด้วยความเก่ง ฉลาด เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคต ดังนั้นเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก คุณแม่ทุกท่านจึงตั้งใจเต็มที่ที่จะให้น้ำนมแม่แก่ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดและมอบนมแม่ให้เป็นสุดยอดอาหารของลูกรักไปนานที่สุดเท่าที่จะทำได้

เราจึงเห็นว่าปัจจุบัน คุณแม่มีการเตรียมพร้อมเพื่อจะเป็นคุณแม่นักปั๊ม ทำนมแม่สต๊อกไว้ให้ลูกน้อยกันแต่เนิ่นๆ

แต่คุณแม่รู้ไหมว่า…นอกจากการปั๊มนมที่ต้องพิถีพันใส่ใจในทุกรายละเอียดแล้ว วิธีการเก็บสต๊อกนมแม่ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหากคุณแม่เก็บไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี อาจทำให้นมแม่ก็เก็บบูดเสีย ลูกกินไม่ได้ รวมถึงหากเช่เย็นเก็บหรือละลายในอุณหภูมิไม่เหมาะสม ก็ทำให้นมแม่สูญเสียคุณค่าสารอาหารสำคัญและจำเป็นต่อสมองและร่างกายของลูกน้อยไปแบบน่าเสียดาย  เสียทั้งกำลังกาย กำลังใจ นมแม่ที่โภชนาการดีๆมากมาย กลับเสียหายไปไร้ประโยชน์

ดังนั้นเราจึงขอแนะนำ วิธีการเก็บน้ำนมแม่สต๊อกที่ถูกต้อง พร้อมเคล็ดลับเรื่องการเก็บนมแม่ไว้ไม่ให้เหม็นหืน เพื่อให้ลูกน้อยกินนมแม่จากสต๊อกได้อย่างเต็มที่ และมีความสุข

วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก

ขั้นตอนการปั๊มและ วิธีเก็บน้ำนมแม่สต๊อก

  1. เริ่มจากคุณแม่ล้างมือให้สะอาด เตรียมเครื่องปั๊มนม และภาชนะที่ใช้เก็บน้ำนมที่ผ่านการทำความสะอาดฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กรวยปั๊มนม ขวดเก็บน้ำนม ถุงเก็บน้ำนม  โดยควรเลือกภาชนะเก็บน้ำนมที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่มีสารอันตราย
  2. เมื่อปั๊มนมเสร็จแล้วให้เขียนวันที่และเวลากำกับที่ข้างภาชนะหรือถุงเก็บน้ำนม เพื่อจะได้นำนมแม่กลับมาใช้ตามลำดับได้ถูกต้อง เสร็จแล้ววางเรียงถุงเก็บน้ำนมสต๊อกในตู้แช่หรือตู้เย็นในบ้าน
  3. หากคุณแม่ปั๊มนมนอกบ้าน หรือที่ทำงาน จำเป็นต้องเตรียมกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา หรือมีอุปกรณ์ที่เก็บความเย็นได้ดี เช่น Ice Pack โดยต้องมั่นใจว่าความเย็นมีเพียงพอที่จะเก็บรักษาคุณค่าน้ำนมแม่ก่อนที่จะนำกลับมาแช่เย็นที่บ้าน

ระยะเวลาการเก็บน้ำนมแม่

วิธีเก็บนมแม่สต๊อกระยะเวลาที่เก็บได้
ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่เข้าตู้เย็นเก็บได้ 1 ชั่วโมง
ตั้งทิ้งไว้ในห้องปรับอากาศ  (ไม่เข้าตู้เย็น)เก็บได้ 4 ชั่วโมง
ในกระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลาเก็บได้ 1 วัน
ใส่ตู้เย็น ช่อง/ชั้นธรรมดาเก็บได้ 3-5 วัน
ใส่ตู้เย็นแบบ 1 ประตู ในช่องแช่แข็งเก็บได้ 1-2 สัปดาห์
ตู้เย็นแบบ 2 ประตู  ในช่องแช่แข็งเก็บได้ 3-6 เดือน
ตู้แช่เย็นจัด (-20 องศาเซลเซียส)เก็บได้ 6-12 เดือน

ข้อควรระวังและใส่ใจในการสต๊อกน้ำนมแม่

ไม่เก็บน้ำนมแม่บริเวณประตูตู้เย็น เพราะความเย็นจะไม่คงที่ ทำให้นมแม่เสียได้ง่าย และแม้คุณแม่จะเก็บนมแม่แช่แข็งไว้ในตู้แช่แข็งที่เก็บรักษานมแม่ได้ถึง 12 เดือน แต่ก็ควรนำนมแม่สต๊อกออกมาให้ลูกกินภายใน 6 เดือนจะดีที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรค  รวมถึงนมแม่ที่สต๊อกเก็บไว้เกิน 1 ปีแล้ว ต้องทิ้งให้หมด แม้ว่าจะไม่มีกลิ่นเสียหรือมีรสชาติเปรี้ยวก็ตาม เพราะอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายลูกจากการเก็บที่นานเกินไป และความไม่คงที่ของอุณหภูมิในต็เย็น

10 วิธีเก็บนมแม่ได้ แบบไม่เหม็นหืน

อีกหนึ่งปัญหาของคุณแม่นักปั๊มที่ทำให้กังวลและไม่มั่นใจ เพราะน้ำนมที่สต๊อกไว้มักมีกลิ่นหืน จนบางครั้งลูกไม่ยอมกิน ซึ่งความจริงแล้วน้ำนมแม่ที่แช่แข็งทำสต๊อกไว้ เมื่อนำมาละลายแล้ว สามารถเกิดกลิ่นหืนได้จากเอนไซน์ที่ชื่อไลเปซ (Lipase)  ที่ช่วยย่อยให้ไขมันในน้ำนมแม่แตกตัว แม้นมแม่จะมีกลิ่นหืนลูกน้อยก็สามารถกินได้ไม่มีอันตราย (ยกเว้นกรณีคุณแม่ชิมแล้วมีรสเปรี้ยว มีกลิ่นแรงมากนั่นคือนมเสียห้ามให้ลูกกิน แต่หากคุณแม่ไม่อยากให้น้ำนมสต๊อกมีกลิ่นหืน อาจลองทำตามวิธีการดังต่อไปนี้

  1. ตรวจเช็กดูแลความสะอาดของเครื่องปั๊มนม อุปกรณ์เก็บนมแม่สต๊อกให้ปราศจากเชื้อโรคทุกครั้ง
  2. เวลาเก็บนมแม่ใส่ถุงเมื่อปั๊มเสร็จ พยายามไล่อากาศออกจากถุงให้ได้มากที่สุด ก่อนแช่เย็น
  3. หลังจากปั๊มนมเสร็จ ให้นำถุงเก็บน้ำนมเข้าตู้เย็นแช่ให้เร็วที่สุด และควรวางเรียงถุงเก็บน้ำนมในแนวนอนราบ
  4. หากต้องการให้ลูกกินนมแม่ที่ปั๊มภายในไม่เกิน 3 วัน หรือปั๊มนมให้ลูกกินวันต่อวัน ไม่ต้องเก็บในช่องแช่แข็ง ให้เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาไว้ เพราะจะเก็บได้ 2-3 วัน โดยมักจะไม่มีกลิ่นหืน
  5. เวลาจะใช้น้ำนมแม่สต๊อก ให้เปลี่ยนช่องเก็บจากช่องฟรีสแช่แข็งลงมาที่ช่องแช่เย็นธรรมดาตอนกลางคืน ประมาณ 12 ชม.หรือ 1 คืน เพื่อให้ละลาย จากนั้นเทใส่ขวดให้ลูกกินแล้วเขย่าแบบเย็นๆได้เลย มักจะไม่มีกลิ่นหืน และไม่ทำให้ลูกปวดท้องหรือท้องเสีย หากลูกไม่ชอบกินเย็นให้แช่ในน้ำอุ่น ห้ามแช่นมในน้ำร้อนหรือใส่ไมโครเวฟเพราะความร้อนจะไปทำลายสารอาหารสำคัญในนมแม่
  6. หลังปั๊มนม อาจทำให้น้ำนมร้อนก่อน เพื่อยับยั้งการย่อยของไลเปสก่อนนำไปแช่แข็ง นั่นคือหลังจากคุณแม่ปั๊มนมเสร็จแล้ว ให้นำไปต้ม ให้นานพอที่จะเห็นฟองอากาศเล็กๆ ปุดๆอยู่ด้านรอบข้างหม้อ แล้วจึงดับไฟ ห้ามปล่อยให้ถึงจุดเดือด จากนั้นนำนมไปเข้าตู้เย็นแช่แข็งทันที วิธีนี้จะทำให้น้ำย่อยไขมันทำงานไม่ได้ จึงไม่เกิดกลิ่นเหม็นหืน ถึงแม้ว่าจะเก็บไว้นานเพียงใดก็ตาม  ซึ่งการต้มนมอาจทำลายภูมิคุ้มกันในนมแม่บางส่วน และสารอาหารบางอย่างในน้ำนมแม่ให้ลดน้อยลงได้ แต่ก็ยังดีกว่าการเทนมแม่ที่สต๊อกไว้ทิ้งไป เพราะลูกไม่ยอมกินนมหืน
  7. ให้ลูกกินนมแม่ที่ละลายจากการแช่แข็งแล้ว ภายใน 24 ชม. และไม่ควรนำนมที่ละลายจากการแช่แข็งแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
  8. ไม่เก็บนมแม่ใกล้ส่วนของช่องแข็งหรือช่องแช่ที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เพราะความเย็นจะไม่คงที่
  9. หากคุณแม่เก็บนมแม่สต๊อกไว้ในถุงพลาสติกแล้วมีกลิ่น ให้ลองเปลี่ยนไปใส่ภาชนะที่เป็นแก้วที่มีฝาปิดมิดชิดแทน
  10. ไม่ควรเก็บนมสต๊อกปะปนกับอาหารอื่นๆ หากคุณแม่แช่นมแม่สต๊อกไว้รวมกับอาหารชนิดอื่นๆ ในตู้เย็น ควรเก็บและใส่อาหารในภาชนะที่มิดชิดมีฝาปิด หรือมัดถุงให้แน่น  เพื่อป้องกันกลิ่นอาหารอื่นมาปะปน ทำให้นมแม่ดูดกลิ่นอาหารเข้ามา จนน้ำนมมีกลิ่นอื่นติดมาด้วยได้

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเก็บนมสต๊อกไม่ให้มีกลิ่นหืนอาจมีความยุ่งยากบ้าง  ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาลูกไม่กินนมหืน และให้ลูกสามารถกินนมแม่ที่มีกลิ่นหืนเป็น  คุณแม่อาจต้องฝึกให้ลูกกินนมเย็นหรือนมที่มีกลิ่นหืนได้บ้างตั้งแต่เนิ่นๆ  ฝึกให้ลูกทานทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง  เริ่มฝึกตั้งแต่ลูกอายุ 1-2 เดือน (หากเริ่มเร็วก่อน 1 เดือน ลูกอาจเสี่ยงติดขวด แต่หากเริ่มช้ากว่า 2 เดือนลูกจะฝึกยากขึ้น) ลูกจะได้กินเป็นทั้งนมจากเต้าและนมแม่ที่สต๊อกเอาไว้ ไม่ต้องทิ้งนมแม่ไปอย่างน่าเสียดายเพียงเพราะมีกลิ่นหืนนั่นเอง

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

เตรียมตัวรับมือให้พร้อมกับการเป็นคุณแม่อย่างเต็มตัว กับ 14 วิธีรับมือลูกแรกเกิด ขอบคุณบทความดีๆ จาก คุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

เพราะคุณค่าจากน้ำนมแม่ที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์สารอาหารที่มีครบถ้วน เพื่อพัฒนาลูกน้อยรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความฉลาด การเติบโตแข็งแรง อารมณ์ดีมีความสุข ขับถ่ายง่าย แถมนมแม่ยังมีสารสร้างภูมิคุ้มกันมากมาย ทำให้ลูกน้อยไม่เจ็บป่วยง่ายอีกด้วย ด้วยเหตุนี้คุณแม่ทุกท่านจึงปรารถนาจะให้ลูกน้อยได้รับคุณค่าอันมหัศจรรย์จากน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ไปจนโต หรือให้นมลูกได้นานที่สุด  โดยคุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่ นอกจากจะให้นมแม่จากเต้าโดยตรงกับลูกน้อยแล้ว เชื่อว่าเกือบทุกคน โดยเฉพาะคุณแม่เวิร์กกิ้งมัม จะต้องทำสต๊อกน้ำนมแม่เก็บแช่แข็งหรือแช่เย็นไว้ เพื่อให้ลูกรักยังได้กินนมแม่ตลอดเวลา แม้จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน แต่มีคุณแม่มือใหม่หลายท่านที่ยังไม่มั่นใจหรือกังวล กับการละลายนมแม่ที่แช่แข็งมาใช้ เพราะไม่แน่ใจว่าวิธีการไหนจะสะดวก สะอาด ปลอดภัย แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และทำแบบไหนจะไม่เสียคุณค่าน้ำนมแม่  ดังนั้นอยากรู้ว่าแต่ละ วิธีละลายน้ำนมแม่ แตกต่างกันอย่างไรไปดูกันค่ะ ก่อนอื่น ให้เปลี่ยนช่องแช่ เพื่อละลายนมแม่ก่อน หากคุณแม่เก็บน้ำนมแม่ไว้ในช่องแช่แข็ง จำเป็นต้องนำนมแม่เปลี่ยนมาแช่ที่ช่องแช่เย็นธรรมดาด้านล่างก่อนประมาณ 1 วันหรือ 1 คืน เพื่อให้นมแม่ค่อยๆ ละลาย  ควรนำนมเก่าที่แช่แข็งไว้ตามวันเวลาที่เก็บสต๊อกไว้นานที่สุดก่อน  เพื่อไม่ให้นมเก่า เก็บไว้นานเกินไป  แล้วจึงทยอยนำนมใหม่มาใช้ไล่ตามเวลาไปเรื่อยๆ เมื่อนมแม่ละลายแล้ว  คุณแม่ควรแบ่งนมแม่จากถุงเก็บน้ำนมใส่ขวดนม แบ่งปริมาณที่ลูกกินเฉพาะมื้อนั้นๆ แล้วจึงนำมาอุ่นหรือละลายก่อนให้ลูกกิน   ซึ่งนมที่เหลือในถุงเก็บน้ำนมสามารถแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาให้ลูกกินให้หมดภายใน 2-3 วัน เท่านั้น  แต่ส่วนใหญ่คุณแม่มักจะนำมาอุ่นหรือละลายให้ลูกกินในมื้อถัดไปภายในวันเดียว หรือ 24 ชั่วโมง วิธีละลายน้ำนมแม่ […]

เสื้อผ้าสำหรับเด็กเล็กๆ นั้นมักจะมีแต่สีสันสดใส เพื่อให้ดูเหมาะสมกับวัย คุณแม่จึงไม่ค่อยจะมีเสื้อผ้าเด็กสีดำติดบ้านกันสักเท่าไหร่ บางบ้านไม่มีเสื้อผ้าเด็กสีดำเลยด้วยซ้ำ จึงใส่ชุดให้ลูกไปตามที่มี ซึ่งก็เกิดประเด็นทำให้คุณแม่เป็นกังวลอย่างมาก บ้างโดนต่อว่าด้วยคำพูด บ้างโดนตำหนิด้วยสายตา “ทำไมไม่ใส่ชุดดำให้ลูก” พลอยทำให้คุณแม่ไม่กล้าพาลูกออกจากบ้าน เพราะที่บ้านไม่มีเสื้อผ้าเด็กสีดำเลย แล้วอย่างนี้ เด็กเล็กแต่งกายไว้ทุกข์อย่างไรดี สำหรับชุดไว้ทุกข์ของเด็กๆ นั้น ไม่ได้เคร่งครัดอะไร คุณแม่ไม่ต้องกังวลจนเกินไปค่ะ ขอให้เป็นสีเรียบๆ ไม่ฉูดฉาด หากเป็นไปได้ก็คุมโทนเสียหน่อย ด้วยโทนดำ ขาว ไข่ไก่ ครีม เทา น้ำเงิน น้ำตาลเข้ม ตัวอย่างแบบเสื้อผ้าเด็กสำหรับใส่ไว้ทุกข์มาฝากให้คุณแม่ลองนำไปมิกซ์แอนด์แมทช์ดูนะคะ การแต่งกายไว้ทุกข์สำหรับเด็กผู้ชาย การแต่งกายไว้ทุกข์สำหรับเด็กผู้หญิง สำหรับบ้านไหนที่ไม่มีเสื้อผ้าลูกสีคุมโทนตามที่กล่าวมา การซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้ลูกเพื่อใส่ไว้ทุกข์อาจไม่ใช่คำตอบ ด้วยราคาเสื้อดำที่ตอนนี้ค่อนข้างแพง และเด็กๆ เขาก็โตเร็ว ใส่ไม่เท่าไหร่ก็คับต้องยกให้คนอื่น คำนวณแล้วอาจไม่คุ้มกับราคาที่ต้องจ่าย อาจใช้วิธีย้อมผ้าสีดำ แทนก็ได้ เพียงซื้อสีย้อมผ้าราคาย่อมเยา ก็แปลงโฉมเสื้อผ้าสีสันเป็นเสื้อผ้าที่ใส่ถวายอาลัยได้แล้ว ขอบคุณแหล่งที่มาจาก : เว็ปไซด์ amarinbabyandkids

คุณแม่ยุคใหม่หลายๆ ท่านอาจจะรู้จัก วิธีการให้อาหารเสริมลูกน้อยแบบ Baby Led Weaning หรือการ กินแบบ BLW กันบ้างแล้ว  เพราะเป็นวิธีการที่หลายบ้านเริ่มนิยมใช้ เนื่องจากเป็นการฝึกลูกกินอาหารเสริมด้วยตัวเองตั้งแต่มื้อแรก  ในแบบที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องป้อน และไม่ต้องบดหรือปั่นอาหารให้ลูกน้อย ที่สำคัญคือการให้ลูกกินอาหารเสริมด้วยวิธีนี้ ยังมีข้อดีหลายอย่าง เพราะเป็นการฝึกให้ลูกได้ใช้พัฒนาการทั้งด้านกล้ามเนื้อ สายตา ได้เรียนรู้รสชาติอาหารที่แตกต่าง และเป็นการฝึกพื้นฐานการช่วยเหลือตัวเองเพื่อพัฒนาให้ลูกสามารถทำอะไรได้เองเก่งขึ้นในอนาคต กินแบบ BLW มีขั้นตอนอย่างไร? วิธีการ กินแบบ BLW มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ซึ่งการให้ลูกกินด้วยวิธีการแบบนี้ จะช่วยให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกรักมีความสุขกับมื้ออาหารของลูกมากขึ้น เพราะไม่ต้องเหนื่อยเดินป้อนข้าวลูก ลูกน้อยเองก็รู้สึกสนุก เพลิดเพลินกับการได้หยิบจับอาหารเข้าปาก ทำให้การ กินแบบ BLW เป็นที่นิยมกันในครอบครัวต่างประเทศ และนิยมในเมืองไทยบ้านเรามากขึ้น แต่การจะเริ่มให้ลูกกิน BLW จะต้องมีการเตรียมพร้อมก่อนให้มื้อแรก และคุณแม่ต้องเรียนรู้ข้อจำกัดและข้อควรระวังหลายๆ อย่าง ดังนั้นไปดูกันว่ามีอะไรที่คุณแม่ต้องพิถีพิถันใส่ใจบ้าง แม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง? เมื่อเริ่มให้ลูก กินแบบ BLW แม้จะดูเหมือนการให้อาหารเสริมลูกด้วยวิธีการ BLW นี้ จะไม่ได้ยุ่งยากนัก แต่ก็มีเรื่องสำคัญต่างๆ ที่คุณแม่จะต้องใส่ใจและพิถีพิถันเลือกให้ลูกน้อย เพื่อความปลอดภัย และให้อาหารลูกในแบบ BLW ได้สำเร็จ […]

การเป็นแม่มือใหม่คือการเผชิญหน้ากับโลกใหม่ที่เต็มไปด้วยการเรียนรู้และความท้าทาย โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพของลูกน้อย เพราะสุขภาพที่ดีเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเติบโตและพัฒนาการของเด็กๆ ในวัยเด็กแรกเกิด ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ดูยากในตอนเริ่มต้น แต่แม่มือใหม่สามารถเริ่มต้นด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้ลูกมีสุขภาพดีได้ มาดูกันว่า 10 เคล็ดลับที่จะช่วยเลี้ยงลูกให้สุขภาพดีมีอะไรบ้างค่ะ 1. ให้นมแม่เป็นหลัก การให้นมแม่เป็นการมอบสารอาหารที่ดีที่สุดแก่ลูกในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต นมแม่มีทั้งสารอาหารที่ครบถ้วนและภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็ก เคล็ดลับ: 2. เริ่มอาหารเสริมเมื่อถึงเวลา เมื่อเด็กครบ 6 เดือน ควรเริ่มให้อาหารเสริมเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต การเลือกอาหารที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาร่างกายและสมองของลูกได้อย่างดี เคล็ดลับ: 3. ส่งเสริมการนอนหลับที่เพียงพอ การนอนหลับที่เพียงพอช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กและช่วยพัฒนาสมอง เด็กเล็กต้องการการนอนหลับมากในแต่ละวัน เคล็ดลับ: 4. ฉีดวัคซีนตามกำหนด การฉีดวัคซีนเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคร้ายแรง เช่น โรคหัด คอตีบ หรือบาดทะยัก ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม เคล็ดลับ: 5. ให้ลูกได้รับการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพัฒนาการร่างกายและสมองของลูก การให้ลูกมีโอกาสเคลื่อนไหวตามวัย เช่น การคลาน การนั่ง หรือการยืน ช่วยเสริมพัฒนาการให้ดีขึ้น เคล็ดลับ: 6. รักษาความสะอาดและสุขอนามัย การรักษาความสะอาดทั้งร่างกายและสิ่งแวดล้อมช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อในช่องปากหรือผิวหนัง […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages