ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ ทำยังไง ? แจก 9 เทคนิคช่วยคุณแม่สบายใจ ไม่ต้องปวดหัว !

เชื่อว่าปัญหาที่หลายๆ บ้านจะต้องเจอก็คือ การที่ลูกรักไม่ยอมกินข้าว โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไป เมื่อเริ่มเดินได้คล่อง เริ่มวิ่งได้บ้าง ก็จะติดเล่น ไม่ค่อยยอมกินข้าวหรือกินได้น้อย บางคนก็อมข้าว ไม่ยอมเคี้ยว หรือหันหน้าหนี กว่าจะป้อนหมดชามก็ใช้เวลานานเกินไป ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนเป็นกังวล เพราะการที่ลูกเราไม่ยอมกินข้าวก็อาจส่งผลต่อสุขภาพและการเติบโตของลูกได้ แต่ปัญหาการกินของลูกรับมือได้ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่ต้องให้เวลา ใช้ความเข้าใจ และต้องใจแข็งนิดหน่อย ก็จะทำให้ลูกมีวินัยในการกินมากขึ้น ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ จะแก้ปัญหาอย่างไรดี ? มาลองฝึกลูกน้อยไปพร้อม ๆ กันกับ BabyGift ได้เลยค่ะ

ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ ทำยังไงดี ? ชวนดูเทคนิคดีๆ ที่ทำให้ลูกกินได้มากขึ้น

การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอในปริมาณที่เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับลูกน้อย เพราะส่งผลต่อการเจริญเติบโตตามวัย หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอนั้นอาจทำให้ลูกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และสุขภาพไม่แข็งแรงได้ โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กอายุครบ 1 ขวบจะเริ่มเรียนรู้การปฏิเสธอาหารหรือคายอาหาร เนื่องจากมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถหยิบจับอาหารเข้าปากได้เอง การปฏิเสธ หรือคายอาหารจึงเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเองกินสิ่งที่เป็นพิษหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป โดยส่วนใหญ่แล้ว การที่ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบนั้นจะเกิดขึ้นไม่นานและหายไปได้เอง แต่เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมกินยาก เลือกกิน ไม่ชอบกินข้าว หรือติดเล่นจนไม่ยอมกินข้าว ก็อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลต่อสุขภาพของลูกได้ แล้วจะทำให้ลูกกินข้าวมากขึ้นได้อย่างไร BabyGift มี 9 เทคนิคดีๆ มาฝากแล้วค่ะ 

1. ฝึกให้ลูกกินข้าวเป็นเวลา และ กำหนดช่วงเวลาในการกินข้าวอย่างชัดเจน

    ในกรณีที่ลูกไม่ยอมกินข้าวนั้น อาจเป็นเพราะว่าลูกห่วงเล่น ติดเล่น หรือเล่นสนุกเพลินจนไม่อยากกินข้าว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดเวลากินข้าวให้ชัดเจนว่า พระอาทิตย์ตกดินแล้วต้องเลิกเล่นและเตรียมตัวกินข้าว หรือเวลาที่สมาชิกในครอบครัวกินข้าวกัน ลูกก็ต้องมานั่งกินด้วย และถ้าลูกบอกว่าไม่หิวหรือห่วงเล่น ก็ไม่ควรดุด่าหรือตำหนิลูก แต่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ต้องมากินข้าวก่อน จากนั้นถึงจะสามารถเล่นต่อได้ และควรมีกฎระเบียบชัดเจนว่าควรเล่นได้จนถึงเวลาไหน นอกจากนี้ ในแต่ละมื้อลูกควรใช้เวลากินข้าวประมาณ 30 – 45 นาที เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ให้เก็บจานข้าว แม้ว่าลูกจะยังกินไม่หมดหรือกินได้น้อยก็ตาม เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้ว่า ถ้าไม่กินภายในช่วงเวลานี้ ก็จะไม่ได้กินจนกว่าจะถึงมื้อต่อไป  โดยช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องใจแข็งเมื่อลูกงอแงอยู่บ้าง แต่ผ่านไปสักพักลูกจะเริ่มเรียนรู้และปรับตัวได้มากขึ้น และกินข้าวเป็นเวลามากขึ้นค่ะ

    2. ฝึกให้ลูกนั่งเก้าอี้กินข้าวสำหรับเด็ก

      การให้ลูกนั่งบนเก้าอี้กินข้าวเด็กโดยเฉพาะจะทำให้ลูกมุ่งความสนใจไปที่อาหารตรงหน้าและไม่วอกแวก ทำให้โฟกัสกับการกินข้าวได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับการป้อนข้าวลูกในขณะที่ลูกเล่นอยู่หรือเดินไปกินข้าวไป จะทำให้กินได้น้อยและไม่ใส่ใจกับการกินเท่าที่ควร หรือถึงขั้นไม่ยอมกินข้าวได้ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่อยากใช้วิธี BLW ฝึกลูกกินข้าวเอง เพราะการฝึกให้ลูกนั่งกินข้าวกับที่นั้นเป็นเทคนิคที่ทำให้ลูกน้อยมุ่งความสนใจไปยังการกินอาหารได้มากขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มความน่าสนใจไปที่ถ้วยชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้ากันเปื้อน ให้มีลวดลายน่ารักและมีสีสันสดใส หรือเป็นลายตัวการ์ตูนที่ลูกชอบ ก็จะทำให้ลูกสนุกกับการกินได้มากขึ้นด้วย

      3. ไม่ควรทำอย่างอื่นในเวลากินข้าว

      เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะเข้าใจว่า การเปิดแท็บเล็ตหรือเปิดการ์ตูนให้ลูกดู จะทำให้กินข้าวได้มากขึ้น แต่ความจริงแล้ว การทำแบบนี้อาจเป็นการเสริมสร้างนิสัยการกินที่ไม่ดีให้กับลูกน้อย วิธีง่ายๆ ในการฝึกวินัยการกินข้าวให้ลูกน้อย ก็คือ ไม่ควรให้ลูกทำกิจกรรมอย่างอื่นในระหว่างที่กำลังกินข้าวอยู่ ในขณะที่กินอาหารไม่ควรดูทีวี แท็บเล็ต หรือเล่นของเล่นไปด้วย เพราะจะทำให้ลูกกินข้าวช้า ใช้เวลากินข้าวนานเกินไป หรืออาจจะอมข้าว และไม่ยอมกินข้าวได้ นอกจากนี้ ควรนำของเล่นออกจากบริเวณโต๊ะอาหารด้วย เพราะหากลูกเห็นของเล่น ก็จะทำให้ลูกไม่สนใจอาหารที่อยู่ตรงหน้าได้

      4. ให้ลูกกินนอาหารพร้อมกับคนอื่นๆ 

      การกินอาหารร่วมกันก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สร้างวินัยการทานอาหารให้ลูกได้ พ่อ แม่ ลูก อาจร่วมโต๊ะทานอาหารด้วยกัน ไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งกินคนเดียวหรือแยกโต๊ะลูกออกไป เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกว่าเวลากินข้าวนั้นเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ตัวเองต้องอยู่คนเดียวหรือรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และแปลกแยก การกินอาหารร่วมกันจะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนสำคัญในบ้าน เป็นเหมือนผู้ใหญ่ที่ได้นั่งโต๊ะกินข้าวด้วยกัน นอกจากนี้ อาจให้ลูกกินข้าวร่วมกับเพื่อนๆ หรือเด็กๆ คนอื่นๆ เช่น กินข้าวด้วยกันกับพี่น้อง ก็จะทำให้ลูกเจริญอาหารมากขึ้นค่ะ 

      5. ตกแต่งเมนูอาหารให้น่ากินมากขึ้น

      หากอาหารหน้าตาน่ากินหรือมีความน่ารัก ลูกก็จะให้ความสนใจกับอาหารมากขึ้นและอยากลองชิมดู บางทีที่ลูกไม่ยอมกินข้าวอาจเป็นเพราะรู้สึกเบื่อเมนูอาหารเดิมๆ และเพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกเบื่อกับเมนูเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อาจจะตกแต่งอาหารของลูกน้อยให้เป็นตัวการ์ตูนที่ลูกรู้จัก หรือปั้นข้าวให้เป็นลูกบอลหรือรูปหน้าหมี ทอดไข่ดาวจากพิมพ์ ตัดผักให้คล้ายต้นไม้แบบธรรมชาติ ก็จะช่วยให้ลูกหยิบกินได้ง่ายและรู้สึกสนุกไปด้วย 

      นอกจากนี้ ควรเพิ่มสีสันลงไปในอาหารให้มากขึ้น เช่น สีเขียวจากบรอกโคลี สีส้มจากแครอท สีเหลืองจากฟักทอง สีขาวจากข้าว สีน้ำตาลจากเนื้อสัตว์ สีแดงจากผลไม้อย่างแตงโม สตรอว์เบอร์รี่ ก็จะทำให้มีสีสันน่ารับประทาน และทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลายครบถ้วนตามหลักโภชนาการเด็กอีกด้วย อย่าลืมสังเกตชนิด และลักษณะอาหารที่ลูกชอบด้วย ครั้งหน้าจะได้เตรียมเพิ่มให้ได้ และที่สำคัญอย่าลืมเรื่องรสชาติ ต้องอร่อยถูกใจ ลูกจะได้เจริญอาหารแบบสุดๆ ไปเลยค่ะ

      6. บรรยากาศในการกินข้าวต้องมีความผ่อนคลาย 

        ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ สามารถแก้ได้ด้วยบรรยากาศ คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะตำหนิลูกหรือดุด่าทำโทษลูก ซึ่งอาจจะทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง การฝึกให้ลูกมีวินัยในการกินข้าวนั้นจะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นๆ และมีความอดทนมากๆ และต้องเชื่อมั่นว่าลูกจะกินอาหารได้มากขึ้นอย่างแน่นอน ฉะนั้น ต้องไม่ดุ ไม่ตี ไม่บังคับให้ลูกต้องกิน หากลูกยังไม่ให้ความร่วมมือในการกินข้าว ก็ควรใช้วิธีดึงความสนใจ เช่น “มาดูสิ ข้าวหนูหน้าตาเหมือนตัวการ์ตูนที่ชอบเลย” “มาเลือกช้อนกินข้าวกัน วันนี้เอาสีอะไรดีคะ” หรือบอกเหตุผลที่ต้องกินข้าว เช่น “หนูต้องกินข้าวเพราะจะได้มีแรงไปเล่นกับเพื่อน” “ถ้ากินข้าวเยอะก็จะได้โตเร็วๆ ตัวโตเท่าเพื่อนเลย” หรือ “ต้องกินข้าวก่อนนะคะคุณแม่ถึงจะให้เล่นต่อ” อะไรแบบนี้เป็นต้น เพราะยิ่งบังคับ ยิ่งดุหรือทำโทษ แม้สุดท้ายลูกจะยอมกินข้าว แต่ก็กินด้วยความฝืนใจ ทำให้ฝังใจและมีความรู้สึกไม่ดีกับการกินข้าวได้ค่ะ

        7. ตักอาหารให้ลูกในปริมาณที่พอเหมาะ 

        คุณพ่อคุณแม่บางคนอยากให้ลูกกินเยอะๆ จึงตักอาหารให้ลูกในปริมาณมาก ซึ่งถ้าหากอาหารมีปริมาณมากเกินไป ลูกจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่ต้องกินให้หมดชาม ทำให้ไม่อยากกินหรือท้อใจกับการกินได้ ดังนั้นเมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ จึงควรตักอาหารให้ลูกในปริมาณที่พอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป กะปริมาณให้ลูกกินอิ่มใน 1 มื้อ และได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ และถ้าลูกยังไม่อิ่ม หรืออยากกินเพิ่ม ก็ค่อยตักเพิ่มให้ลูกค่ะ

        8. ลดขนมหวาน

          ให้ลองสังเกตดูว่า ถ้าลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบ เป็นเพราะว่ากินขนมในปริมาณมากหรือเปล่า เพราะขนมหวาน เค้ก คุ้กกี้ ไอศกรีม ลูกอม ช็อกโกแลต ขนมกรุบกรอบที่มีรสหวานต่างๆ นั้น เมื่อกินเสร็จจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะไปกดศูนย์ควบคุมความหิวในสมอง ทำให้ลูกไม่รู้สึกหิว ไม่อยากอาหาร สามารถแก้ไขได้โดยการงดขนมหวานระหว่างมื้ออาหาร อาจเปลี่ยนเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัดแทน การงดขนมหวานระหว่างมื้อจะทำให้เด็กท้องว่าง รู้สึกหิวมากขึ้น และทำให้กินข้าวได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ การลดน้ำตาลในเด็กยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กอีกด้วยค่ะ 

          9. ให้ลูกได้เล่นซน และใช้พลังงานอย่างเต็มที่ 

            อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ค่อยหิว และไม่ยอมกินข้าวนั้น อาจเป็นเพราะว่าลูกไม่ได้ใช้พลังงานอย่างเต็มที่ หรือไม่ค่อยได้ขยับเขยื้อนร่างกาย และถ้าคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนให้ลูกกินขนมหรืออาหารว่างระหว่างวันเรื่อยๆ ก็จะยิ่งทำให้เด็กไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ดังนั้นแล้ว ลองพาลูกออกไปเล่นซนนอกบ้านบ่อยๆ ไปทำกิจกรรมนอกบ้านให้มากขึ้น หรือพาไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ซึ่งจะทำให้ลูกได้ใช้พลังงานอย่างเต็มที่ ได้ออกกำลังกาย ได้ออกแรง และรู้สึกหิวโดยอัติโนมัติ ทำให้กินข้าวได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ วิธีนี้นอกจากจะทำให้ลูกมีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ลูกได้ออกแรงและมีร่างกายแข็งแรงขึ้นด้วยนะคะ   

            BabyGift แนะนำตัวช่วยสำหรับมื้ออาหาร ให้ลูกน้อยกินข้าวได้เยอะขึ้น

            1. PRINCE & PRINCESS เก้าอี้ฝึกกินข้าว Fairy Plus

            เก้าอี้ฝึกกินข้าวสำหรับเด็กรุ่น Fairy Plus จากแบรนด์ PRINCE & PRINCESS เป็นตัวช่วยสำคัญในการฝึกให้ลูกนั่งกินข้าวได้เอง และมีวินัยในการกินมากขึ้น รองรับน้ำหนักได้มาก มีความแข็งแรงปลอดภัยด้วยรางล็อคเหล็กแบบตะขอเกี่ยว ไม่เสี่ยงต่อการหลุดร่วงลงมา ให้ลูกน้อยนั่งกินข้าวเองได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย ตอบโจทย์ความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ในยุคปัจจุบัน

            จุดเด่น 

            • สามารถปรับความสูงได้ 7 ระดับ ตั้งแต่ 25 เซนติเมตร – 60 เซนติเมตร 
            • พนักพิงเก้าอี้สามารถปรับเอนนอนได้ 3 ระดับ เหมาะกับการใช้นั่งพักหลังมื้ออาหาร ป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นกรดไหลย้อน หรือแหวะนม เมื่อเทียบกับการพาลูกนอนราบบนที่นอน
            •  มีล้อหน้า-หลัง และตัวล็อคล้อเพื่อความปลอดภัย เคลื่อนย้ายได้สะดวก และหากไม่ใช้งานสามารถพับเก็บได้ง่ายภายใน 1 วินาที
            • ถาดอาหารมีขนาดใหญ่ มี 2 ชั้น มีคุณสมบัติ BPA Free (ปราศจากสาร  Bisphenol A ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย) และเป็นวัสดุ Food Grade ปลอดภัยไม่มีสารตกค้าง สามารถถอดแยกไปทำความสะอาดได้ 
            • พนักพิงเก้าอี้กว้าง รองรับช่วงสรีระของลูกน้อยได้จนโต มีสายรัดนิรภัยเพื่อป้องกันลูกร่วงตกจากเก้าอี้ 
            • เบาะรองนั่งเป็นนวัตกรรม Cotton Cushion เสริมความหนานุ่มนั่งสบาย สามารถถอดซักได้ และเบาะ PU ที่เป็นวัสดุกันน้ำไม่ซึม เช็ดทำความสะอาดได้

            2. GRACE KIDS ช้อนป้อนอาหารซิลิโคน 3 ฟังก์ชั่น พร้อมกล่องเก็บ

            ช้อนป้อนอาหารซิลิโคนปลายนิ่ม เหมาะสำหรับวัยที่เริ่มหัดกินข้าวเอง มี 3 ฟังก์ชั่นการใช้งานด้วยกัน ได้แก่ ช้อนตัก ส้อม และปลายช้อนสำหรับบดอาหาร มาในรูปยีราฟน่ารักน่าใช้งาน พร้อมกล้องเก็บช้อนที่สะดวกต่อการพกพา ป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกได้ดี 

            จุดเด่น

            • ปราศจากสาร BPA ที่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย
            • ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เป็นคราบ
            • สามารถนึ่งฆ่าเชื้อโรคได้ 
            • ออกแบบมาให้มีขนาดพอดีกับปากเด็กเล็ก
            • ด้ามจับถนัดมือ ผลิตจากวัสดุมีคุณภาพ

            สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังกังวลใจเรื่องลูกไม่ยอมกินข้าว หวังว่า 9 เทคนิคที่ BabyGift เอามาฝากในบทความนี้จะทำให้ลูกเริ่มกินข้าวได้มากขึ้นและมีวินัยในการกินมากขึ้นนะคะ ทั้งนี้ ควรคำนึงด้วยว่า ลูกไม่ยอมกินข้าว 1 ขวบนั้น เป็นเพราะลูกของเรามีปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อการกินหรือเปล่า โดยเด็กอาจดูด เคี้ยว กัด หรือกลืนอาหารไม่ถนัด มีอาการสำลักหรือรู้สึกพะอืดพะอมในเวลากินข้าว หรือปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสียเป็นประจำหลังกินข้าวเสร็จ ก็อาจจะทำให้รู้สึกไม่อยากกิน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตด้วยว่าลูกมีปัญหาทางด้านสุขภาพหรือไม่ และควรพาไปพบคุณหมอเพื่อรักษาตามอาการค่ะ 

            และถ้าคุณพ่อคุณแม่สนใจสินค้าอื่นๆ สำหรับแม่และเด็ก สามารถมาเยี่ยมชมสินค้าได้ที่ BabyGift ร้านจำหน่ายสินค้าแม่และเด็กระดับคุณภาพ มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถมาเยี่ยมชมสินค้าต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์กินข้าวสำหรับลูกน้อยหรือสินค้าอื่นๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ร้านเบบี้กิ๊ฟทั้ง 6 สาขา ใกล้บ้าน หรือสอบถามผ่านช่องทาง Online ทีมงาน BabyGift ยินดีให้คำแนะนำค่ะ 

            สินค้าที่เกี่ยวข้อง

            คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

            สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

            7,700.00
            คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

            สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

            7,700.00
            คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

            สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

            7,700.00
            คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

            สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

            7,700.00
            คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

            สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

            7,700.00
            คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

            สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

            7,700.00

            บทความแนะนำ

            เดินทางมาเกินครึ่งทางแล้วขอคารวะให้กับความสตรองของแม่ๆ แต่ยิ่งใกล้วันครบกำหนดคลอดเท่าไหร่กลับยิ่งเครียดหนักกว่าเดิม แถมร่างกายของคุณแม่ช่วงนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงแบบเยอะมากๆ คุณแม่บ้านไหนที่กำลังกังวลเรื่องท้องเล็ก ช่วง 6 เดือนนี่แหละค่ะ ที่ท้องของคุณแม่ๆ จะเริ่มใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แถมน้ำหนักก็ยังขึ้นพรวดๆ แบบก้าวกระโดด ช่วงนี้คุณแม่จะหิวเป็นพิเศษ แถมยังต้องทานอาหารเยอะขึ้นกว่าเดิมเพราะลูกน้อยของคุณแม่กำลังช่วยใช้พลังงาน ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไป คุณแม่อาจจะรู้สึกถึงอาการท้องแข็ง อาการท้องแข็งคือเวลาที่มดลูกของคุณแม่หดตัว ท้องของคุณแม่ก็จะแข็งนูนขึ้นมาค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องปกตินะ ถ้าไม่ได้เกิดแบบถี่ๆ ติดต่อกัน และเพราะความเปลี่ยนแปลงเยอะแยะเหล่านี้นี่แหละ ทำให้คุณแม่อาจจะต้องดูแลช่วงครึ่งหลังนี้เป็นพิเศษ เรามาดู 6 เรื่องที่คุณแม่ท้อง 6 เดือนต้องระวังกันค่ะ 1.ความเครียดไม่ใช่เรื่องดี อันที่จริงเรื่องความเครียดก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังตั้งแต่ตั้งครรภ์แรกๆ แล้วเนอะ แต่อย่างที่บอกค่ะ ว่าช่วงนี้คุณแม่จะเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก อาจจะทำให้เกิดความเครียดไม่รู้ตัว เช่น คุณแม่บางคนอาจจะเป็นกังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาของตัวเอง หรือบางคนอาจจะมีอาการปวดชายโครงเพราะท้องที่ใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการเครียดตามมา หากคุณแม่เกิดอาการเครียดมากๆ แล้ว จะส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนและสารเคมี ซึ่งเจ้าสารเคมีตัวนี้จะส่งผลโดยตรงกับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ค่ะ คุณแม่ที่เครียดมักจะคลอดก่อนกำหนด แถมยังทำให้ลูกมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อีกด้วย 2.ไม่ใช่เวลาของกิจกรรมผาดโผน ด้วยขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น การทำกิจกรรมผาดโผนต่างๆ อาจเป็นการเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการกระแทกบริเวณหน้าท้อง ซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างยิ่งค่ะ แถมการที่คุณแม่เคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็วหรือทำอะไรแบบปุปปับ ยังเป็นสาเหตุทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว เกิดอาการท้องแข็ง และถ้าเกิดคุณแม่มีอาการท้องแข็งบ่อยๆ เข้าล่ะก็ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดอยู่นะ 3. […]

            น้ำนมของแม่นั้นเป็นอาหารที่เปี่ยมคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งจะต้องกินนมจากแม่เป็นหลัก สำหรับคุณแม่ที่อยู่บ้านเลี้ยงลูกเต็มเวลาก็อาจจะไม่ได้มีปัญหากับการสต็อกน้ำนมเอาไว้ เพราะเน้นการเอาลูกเข้าเต้าเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน การทำสต็อกน้ำนมเอาไว้นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะได้มีน้ำนมเอาไว้ให้ลูกน้อยอย่างเพียงพอ ในบทความนี้ BabyGift มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการเก็บรักษา นมแม่ มาฝากกันค่ะ จะเก็บน้ำนมอย่างไรให้ไม่เหม็นหืน ไม่บูด และคงคุณค่าทางอาหารเอาไว้ได้มากที่สุด มาดูกันเลยค่ะ ทำไมนมของแม่มีกลิ่นเหม็นหืน ? มีวิธีการเก็บรักษา นมแม่อย่างไรไม่ให้มีกลิ่นและคงคุณค่าได้นาน คุณแม่บางคนอาจพบว่านมที่ตนเองทำการสต็อกไว้นั้นมีกลิ่นเหม็นหืน ซึ่งมักจะเกิดกับนมที่เก็บไว้ในช่องแช่แข็งในตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เนื่องจากในช่วงที่ระบบละลายน้ำแข็งทำงาน นมที่แช่แข็งเอาไว้ก็จะละลายไปด้วย และเมื่อช่องแช่แข็งกลับมาเย็นจัดใหม่ ก็ทำให้น้ำนมแข็งตัวอีกครั้ง กระบวนการนี้หากเกิดขึ้นซ้ำหลาย ๆ ครั้งก็จะทำให้ไขมันในน้ำนมมีการเปลี่ยนแปลงและทำให้นมมีกลิ่นเหม็นหืนได้นั่นเองค่ะ ดังนั้นแล้วการเก็บรักษานมแม่ ในตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติแบบนี้ ก็เสี่ยงจะทำให้น้ำนมที่เก็บเอาไว้มีกลิ่นเหม็นหืนได้  สาเหตุที่นมแช่แข็งละลายมาเป็นน้ำนมแล้วมีกลิ่นเหม็นหืน ก็เพราะว่าในน้ำนมของแม่มีเอ็นไซม์ไลเปส ที่จะช่วยย่อยไขมันในน้ำนมของแม่ให้แตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ เพื่อผสมกับโปรตีนเวย์ในน้ำนมได้ดี ทำให้ร่างกายของลูกน้อยดูดซึมวิตามิน A และวิตามิน D ได้มากขึ้น ถ้าในน้ำนมของแม่มีไลเปสมากก็จะย่อยไขมันได้มาก ทำให้น้ำนมมีกลิ่นหืนนั่นเองค่ะ ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีกลิ่นหืนก็ไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยแต่อย่างใด ยังสามารถกินได้ แต่ในเด็กบางคนอาจไม่ยอมกินนมที่มีกลิ่นหืน สามารถแก้ไขได้โดยการนำน้ำนมที่ปั๊มมาใหม่ๆ ผสมกับนมที่มีกลิ่น ก็จะช่วยเจือจางกลิ่นและลดความเหม็นหืนไปได้ […]

            ไม่นานมานี้ดิฉันเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดกับลูกๆทั้งสนุกสนานและปลอดภัยตั้งแต่ออกเดินทางจนถึงจุดมุ่งหมายเลยค่ะรู้สึกขอบใจตัวเองที่กัดฟันให้ลูกนั่งคาร์ซีท ตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก ทำให้ขับรถได้อย่างมีสมาธิ แต่กว่าจะถึงวันนี้ลูกก็เคยร้องไห้ประท้วงจนแหวะใส่เก้าอี้ตัวเองมาแล้ว ดิฉันใช้วิธีสงบสยบความเคลื่อนไหวร้องได้ร้องไป แค่ 15 นาทีเท่านั้น คลื่นลมก็สงบ ตั้งแต่นั้นมาลูกๆเรียนรู้เลยว่า เวลาขึ้นรถต้องไปนั่งที่ “เก้าอี้วิเศษ”  ของตัวเองและนั่งทุกครั้งแม้ระยะทางจะใกล้หรือไกลเพราะอุบัติเหตุอาจเกิดจากภัยในรถ เช่น ลูกทะเลาะกันที่เบาะหลัง (เจอมาแล้ว) หรือปีนป่ายจนได้รับอันตราย คุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่มั่นใจในคาร์ซีท carseat ว่าจะช่วยวันยุ่งๆของคุณแม่ได้มากน้อยแค่ไหน ลองเคล็ดลับต่อไปนี้ดูสิคะ แล้วลูกคุณจะรัก “เก้าอี้วิเศษ” ของตัวเองขึ้นเยอะเลย เคล็ดลับก่อนตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีท อายุ ประเภทของคาร์ซีท คำแนะนำทั่วไป เด็กอ่อน คาร์ซีทสำหรับเด็กอ่อน เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และมีน้ำหนักน้อยกว่า 9 kg.– ต้องนั่งคาร์ซีทแบบหันหน้าเข้าหาเบาะ เพราะคอยังไม่แข็งพอรับแรงกระแทกขณะรถวิ่ง เด็กก่อนวัยเรียน เก้าอี้แบบหันหน้าออก เด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป หรือหนัก 9 kg. ขึ้นไป เด็กเล็กวัยเรียน เบาะรองนั่ง เด็กควรสูงอย่างน้อย 120 cm.และต้องมั่นใจว่าเข็มขัดนิรภัยพาดที่ไหล่และต้นขาของเด็กอย่างพอดี เด็กโต เข็มขัดนิรภัย […]

            Hypochlorous Acid หรือ HOCl คืออะไร? Hypochlorous Acid หรือ กรดไฮโปคลอรัส มีชื่อเรียกทางเคมีว่า HOCl นั้น เป็นกรดอ่อน ๆ ชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นโดยธรรมชาติโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเพื่อการรักษาและการปกป้องร่างกาย  ซึ่งกรดไฮโปคลอรัส มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา รวมไปถึงสปอร์ของเชื้อราได้ โดยการเข้าไปทำลายผนังหุ้มเซลล์ของเชื้อโรค เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเหล่านั้น เนื่องจากกรดไฮโปคลอรัส (HOCl) เป็นกรดชนิดเดียวกันกับที่อยู่ในระบบภูมิคุ้มกัน ในเม็ดเลือดขาวของร่างกายมนุษย์ จึงปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผิวบอบบาง  หรือดวงตา ไม่ทำให้เกิดอาการแสบ และมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคมากกว่าสารฟอกขาวประเภทคลอรีนถึง 80-120 เท่า กรดไฮโปคลอรัส สามารถพบได้จาก “ น้ำอิเล็กโทรไลต์ “ ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ซึ่งมีการคิดค้นครั้งแรกโดยนักฟิสิกส์และนักเคมี นามว่า ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) เมื่อปีทศวรรษ 1834 โดยเขาได้คิดค้นหลักการสำคัญของกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสตั้งเป็นกฎสองข้อเรียกกันว่า Faraday’s Laws of Electrolysis ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาไฟฟ้าเคมี (Electrochemistry) มาจนถึงทุกวันนี้ กระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) คืออะไร ? อิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) คือกระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้า ด้วยเครื่องมือที่ใช้แยกสารละลายด้วยไฟฟ้า มีชื่อเรียกว่า เซลล์อิเล็กโทรไลต์ หรือ อิเล็กโทรลิติกเซลล์ ประกอบด้วย […]

            การเป็นแม่มือใหม่อาจจะเป็นเรื่องที่ทั้งสนุกและท้าทายอย่างมาก สำหรับแม่มือใหม่หลายๆ คนที่เพิ่งมีลูกคนแรก ย่อมต้องเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้รู้สึกเครียดและสับสน แต่ไม่ต้องกังวล เพราะทุกปัญหามีวิธีการจัดการที่สามารถทำได้ทันที วันนี้เรามี 5 ปัญหาที่แม่มือใหม่เจอบ่อย พร้อมวิธีแก้ไขที่ได้ผลทันทีมาฝากค่ะ 1. ลูกไม่ยอมนอนตอนกลางคืน หนึ่งในปัญหาที่แม่มือใหม่มักเจอบ่อยคือ ลูกไม่ยอมนอนตอนกลางคืน ตื่นบ่อย หรือร้องไห้จนทำให้แม่ไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ นี่อาจเกิดจากการที่เด็กยังไม่คุ้นเคยกับการนอนตอนกลางคืน หรือยังปรับตัวไม่ได้กับตารางเวลา วิธีแก้ไข: 2. ลูกไม่ยอมกินนม/อาหารเสริม หลายๆ แม่มือใหม่มักจะพบว่า ลูกไม่ยอมกินนมแม่หรือนมขวด หรือแม้กระทั่งปฏิเสธอาหารเสริม แม้จะพยายามหลายครั้งแล้วก็ตาม วิธีแก้ไข: 3. ลูกร้องไห้ไม่หยุด หนึ่งในปัญหาที่ท้าทายมากสำหรับแม่มือใหม่คือการที่ลูกร้องไห้ไม่หยุด ซึ่งบางครั้งอาจทำให้แม่รู้สึกวิตกกังวลและไม่รู้วิธีการช่วยลูก วิธีแก้ไข: 4. ปัญหาน้ำนมไม่พอ แม่มือใหม่หลายคนจะมีความกังวลเรื่องน้ำนมไม่พอให้ลูกดื่ม ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดหรือการให้นมไม่สม่ำเสมอ วิธีแก้ไข: 5. รู้สึกเครียดหรือเหนื่อยล้าจากการเลี้ยงลูก การเป็นแม่มือใหม่ที่ต้องดูแลลูกอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความเครียดและรู้สึกเหนื่อยล้า ทำให้บางครั้งแม่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีพอ วิธีแก้ไข: บทสรุป ปัญหาที่แม่มือใหม่เจอบ่อยนั้นเป็นสิ่งที่สามารถจัดการได้ด้วยการมีความรู้และวิธีการที่ถูกต้อง อย่าลืมว่าการเลี้ยงลูกไม่ใช่การแข่งกับเวลา แต่คือการเรียนรู้และปรับตัวไปพร้อมๆ กัน ไม่ต้องกังวลหรือเครียดเกินไป ขอให้แม่มือใหม่ทุกคนมีความสุขกับการเลี้ยงดูลูกอย่างเต็มที่ และรู้สึกมั่นใจในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพและความสุขของลูกค่ะ!

            Menu
            All Categories
            All Brands
            All Ages
            Promotions
            Locations
            BabyGift Family
            BabyGift Care
            Parents Guide
            News & Event

            All Categories

            All Categories
            All Brands
            All Ages