วิธีการ ทำสต๊อกน้ำนมแม่

เพราะนมแม่ คือสุดยอดอาหารมื้อแรกและเป็นอาหารที่ดีที่สุดของลูกน้อย คุณแม่ทุกท่านจึงตั้งใจมอบคุณค่าน้ำนมแม่นี้ให้แก่ลูกรักได้นานที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยส่วนใหญ่มักจะเตรียมพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ และหลังคลอดก็ให้นมแม่จากเต้าทันทีและเต็มที่ และเชื่อว่าคุณแม่ทุกคนยอ่มวางแผนที่จะ ทำสต๊อกน้ำนมแม่ เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่ในช่วงที่ต้องไปทำงาน และมีน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกได้กินต่อเนื่องยาวนาน
แต่การ ทำสต๊อกน้ำนมแม่ นอกจากคุณแม่ต้องมีวินัยในการปั๊มนมสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องแล้ว คุณแม่จำเป็นเรียนรู้ข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ ในการเก็บน้ำนมแม่ เพื่อให้น้ำนมแม่ที่นำมาให้ลูกกินในภายหน้ายังมีคุณค่าครบถ้วนเต็มที่ ให้ลูกรักมีพัฒนาการดีทุกด้าน เก่ง ฉลาด และสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ
ฉะนั้นมาดูกันว่า วิธีการทำสต๊อกน้ำนมแม่ต้องทำอย่างไร
อุปกรณ์ ทำสต๊อกน้ำนมแม่

เครื่องปั๊มนม
เป็นผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้คุณแม่ได้ปั๊มนมเก็บไว้ และกระตุ้นให้น้ำนมมาได้มากอย่างต่อเนื่อง และสามารถปั๊มนมแม่ได้ ตั้งแต่ที่บ้านไปจนถึงเมื่อต้องกลับไปทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องปั๊มนมให้เลือกมากมาย หาซื้อได้ง่ายทั้งทางออนไลน์และห้างสรรพสินค้าต่างๆ
โดยคุณแม่ควรพิถีพิถันหาข้อมูล และเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมที่ถูกใจ เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน รวมถึงการใช้งานเมื่อต้องไปทำงานนอกบ้านหรือออกข้างนอก เช่น คุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน กับคุณแม่ที่อยู่บ้านเลี้ยงลูก อาจจะต้องเลือกเครื่องปั๊มนมที่ให้ความสะดวก และมีระบบการทำงานที่แตกต่างกันนั่นเอง
เครื่องปั๊มนมยุคใหม่ ก็มีให้คุณแม่ได้เลือกมากมายหลายแบบ หลายการใช้งานและหลายราคา อาทิ เครื่องปั๊มนมชนิดปั๊มมือ เครื่องปั๊มนมชนิดใช้แบตเตอรี่ และ เครื่องปั๊มนมชนิดใช้ไฟฟ้า แถมยังมีทั้งแบบที่ปั๊มนมเดี่ยวข้างเดียว แบบปั๊มนมได้คู่พร้อมกันสองข้าง รวมถึงสามารถชาร์จไฟจากพาวเวอร์ได้อีกด้วย สิ่งสำคัญคือการเลือกเครื่องปั๊มนมที่ได้มาตรฐาน มีแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับหรือได้รับความนิยมจากคุณแม่ทั่วไป ราคาเหมาะสม และใช้งานได้สะดวกในแบบของคุณแม่และครอบครัว

ถุงเก็บน้ำนม
จำเป็นต้องมีเพื่อเก็บน้ำนมที่คุณแม่ปั๊มไว้มาเก็บแช่ไว้ในตู้เย็น โดยถุงเก็บน้ำนมที่ดีควรทำจากวัสดุที่ปลอดภัยในเกรดบรรจุอาหาร(Food Grade) ไม่มีสารและสีอันตราย เช่น ปราศจาก BPA ใช้สีเกรดอาหาร อาจเป็นถุงซิปล็อก 2 ชั้น ที่มีการซีลขอบข้างหนาพิเศษ ป้องกันการรั่วซึม คงทนแข็งแรงไม่ฉีกขาดง่าย สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อ มีช่องหรือฉลากที่ให้คุณแม่สามารถเขียนวันและเวลาในการเก็บน้ำนมได้ในแบบที่หมึกไม่เลอะเลือนหรือจางหายไปได้ง่ายๆ
ยิ่งเป็นถุงเก็บน้ำนมที่ผ่านการรับรองมาตรฐานทั้งจากสากลและกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยได้ยิ่งดี

ขวดนม จุกนม
เช่นเดียวกับการเลือกถุงเก็บน้ำนม คือต้องสะอาดปลอดภัย ผลิตจากวัสดุปลอดภัยเกรดอาหาร ไม่มีสารเคมีหรือวัสดุที่อันตรายหรือสะสมสารปนเปื้อน ทนความร้อน เลือกขนาดที่เหมาะกับการกินของลูกน้อย รวมถึงขนาดจุกนมที่ให้ลูกดูดก็ต้องเหมาะสมด้วย เช่น ลูกวัยทารกต้องใช้จุกนมไซส์ S และเปลี่ยนขนาดไซส์ขวดนมและจุกนมตามวัยที่ลูกโตขึ้น

อุปกรณ์ทำความสะอาด
ได้แก่ น้ำยาล้างขวดนมจุกนม ที่ต้องเลือกที่มีส่วนผสมอ่อนโยน ปลอดภัย จากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง ไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตราย รวมถึง ควรเตรียม แปรงล้างขวดนมและจุกนม ไว้ด้วย

เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อขวดนม
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยคุณแม่ฆ่าเชื้อหลังจากทำความสะอาดล้างขวดนมแล้ว ให้ปราศจากเชื้อได้หมดจดมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องนึ่งขวดนมให้เลือกมากมาย ใช้งานได้สะดวกหลายฟังก์ชั่น มีทั้งแบบนึ่งด้วยไอน้ำ อบด้วยแสงยูวี และอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถนึ่งหรือฆ่าเชื้ออุปกรณ์ของใช้อื่นๆ ของลูกได้ด้วย โดยคุณแม่สามารถเลือกซื้อหาได้ในร้านขายอุปกรณ์ของใช้สำหรับลูกน้อยชั้นนำได้ทันที

แผ่นซับน้ำนม
จำเป็นสำหรับคุณแม่เวลาใส่เสื้อผ้า เพราะหากไม่มีแผ่นซับน้ำนมไว้ น้ำนมแม่อาจจะซึมออกมาเลือกเสื้อชั้นในและเสื้อผ้าได้

วิธีการ ทำสต๊อกน้ำนมแม่
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปั๊มนม หรือเตรียมนมให้ลูกกิน
- เตรียมภาชนะเก็บนมที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด เช่น ขวดนม ถุงเก็บน้ำนม ไม่ใส่ขวดหรือถุงพลาสติกเก็บอาหารทั่วไป
- ปั๊มน้ำนมแม่เก็บไว้ในถุงเก็บน้ำนม หรือขวดนม เสร็จแล้วล้างมือ และล้างอุปกรณ์ปั๊มนมให้สะอาดทุกชิ้น ไม่ควรเทนมที่เพิ่งปั๊มใหม่ ไปรวมกับนมเก่าที่แช่แข็งไว้แล้ว ควรแยกไว้ในแต่ละครั้งอย่างชัดเจน
- อย่าลืมเขียน วันที่ และเวลาในการเก็บนมไว้ที่ข้างถุงเก็บน้ำนมเสมอ
- เก็บนมแม่ที่ปั๊มไว้ ทำสต๊อกในตู้เย็น โดยนำถุงเก็บน้ำนมที่เขียนวันเวลาแล้ว แช่ไว้ในช่องแช่แข็งหรือช่องฟรีซ หรือหากเก็บไว้ช่องแช่แข็งธรรมดาก็สามารถทำได้ แต่จะมีระยะเวลาการเก็บที่จำกัด และควรนำมาใช้อย่างเหมาะสมดังนี้
การเก็บสต๊อกน้ำนมแม่ | ระยะเวลาที่เก็บได้ |
ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่เข้าตู้เย็น | เก็บได้ 1 ชั่วโมง |
ตั้งทิ้งไว้ในห้องปรับอากาศ (ไม่เข้าตู้เย็น) | เก็บได้ 4 ชั่วโมง |
กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา | เก็บได้ 1 วัน |
ใส่ตู้เย็น ชั้นธรรมดา | เก็บได้ 3-5 วัน |
ตู้เย็นแบบ 1 ประตู ในช่องแช่แข็ง | เก็บได้ 1-2 สัปดาห์ |
ตู้เย็นแบบ 2 ประตู ในช่องแช่แข็ง | เก็บได้ 3-6 เดือน |
ตู้แช่เย็นจัด (-20 องศาเซลเซียส) | เก็บได้ 6-12 เดือน |
ระวัง *ไม่เก็บน้ำนมแม่บริเวณประตูตู้เย็นเพราะความเย็นจะไม่คงที่ ทำให้นมแม่เสียได้ง่าย
เมื่อคุณแม่ได้เรียนรู้วิธีการทำสต๊อกน้ำนมแม่ที่ถูกต้อง และการละลายนมสต๊อกก่อนให้ลูกกินแล้ว เชื่อว่าลูกน้อยของคุณแม่จะเติบโต แข็งแรง เก่ง ฉลาด มีสุขภาพและพัฒนาการที่ดีเยี่ยมเต็มที่ ด้วยเพราะได้พลังจากน้ำนมแม่ที่คุณแม่ทุ่มเททำสต๊อกเก็บไว้นี้นั่นเอง
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
เคล็ดลับการฝึกลูกนั่งคาร์ซีท car seat จากประสบการณ์จริงคุณแม่ลูกสอง โดย แม่ป่าน เพจ เลี้ยงลูกอย่างมีความสุข by mommy Arpan 1. ฝึกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ : ถ้าเป็นไปได้จัดเตรียมคาร์ซีท car seat ไว้ก่อนคลอด และให้ลูกนั่งตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล จะช่วยสร้างความคุ้นเคยให้กับทั้งตัวลูกและพ่อแม่ 2. ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอจนกลายเป็น routine (กิจวัตร) : ไม่ว่าจะไปไหน ใกล้หรือไกลต้องให้เด็กนั่ง car seat ทุกครั้ง เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ปฏิบัติจนคุ้นชิน และทุกอย่างจะง่ายขึ้นเองค่ะ 3. ปรับทัศนคติให้ตรงกัน (ปัญหาหลักที่หลายบ้านพบเจอ) : โดยเฉพาะผู้ใหญ่ในบ้านที่อาจจะยังไม่เข้าใจ หรือยังมองไม่เห็นความสำคัญ ลองนั่งพูดคุยบอกเล่าเหตุการณ์ๆต่างๆในข่าว ที่เวลาเกิดอุบัติเหตุและเด็กที่นั่ง car seat รอดชีวิต เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้นั่งและเกิดความสูญเสียร้ายแรงตามมา และลองคุยปรับความเข้าใจกับท่านดู เชื่อว่าถ้าท่านรักและห่วงหลานๆเป็นทุน ยังไงวันหนึ่งท่านจะเข้าใจค่ะ อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำคือลองหาวิดิโอใน Youtube สาธิตแรงกระแทกที่เกิดขณะรถชน (จะมีสาธิตเปรียบเทียบระหว่างมีคนอุ้มเด็ก กับเด็กนั่งคาร์ซีท ….หวังว่าภาพที่เห็นจะสามารถเปลี่ยนใจของบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านได้นะคะ […]
คาร์ซีทนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับลูกน้อย และคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมพร้อมคาร์ซีทให้เรียบร้อยก่อนที่ลูกน้อยจะคลอด เพราะเมื่อออกจากโรงพยาบาลมาแล้วก็ต้องนั่งคาร์ซีทกลับบ้าน ทั้งเพื่อความปลอดภัยสำหรับลูกน้อยเอง และเพื่อปฏิบัติตามกฏหโมายเรื่องการกำหนดที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกคาร์ซีท เด็กแรกเกิดอย่างไรดี ควรเลือกแบบไหน คาร์ซีทสำหรับเด็กมีกี่ประเภท เลือกอย่างไร BabyGift มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกันแล้วค่ะ เลือกคาร์ซีท เด็กแรกเกิด อย่างไรดี ? ต้องรู้อะไร ? เลือกยังไงดี หาคำตอบได้จากบทความนี้ ! คาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิด เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องเตรียมไว้ให้กับลูกตั้งแต่ก่อนคลอด และควรที่จะให้ลูกได้ใช้ตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล เนื่องจากร่างกายของเด็กทารกยังไม่แข็งแรง ยังไม่สามารถรับแรงกระแทกได้มากเท่าไหร่ อีกทั้งเราไม่รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จึงควรป้องกันไว้ก่อนและเตรียมความพร้อมในทุกสถานการณ์ คาร์ซีท เด็กแรกเกิด จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่รู้จะเลือกอย่างไรดี ต้องเลือกแบบไหน คาร์ซีท มีกี่แบบ ต้องเลือกอย่างไร ? ในบทความนี้ BabyGift มีเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกซื้อคาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดมาฝากกันค่ะ เรามารู้จักประเภทของคาร์ซีทกันก่อนเลย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของคาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดได้ดังนี้ 1. New Born Only : หรือคาร์ซีทแบบกระเช้า คาร์ซีทประเภทนี้จะมีขนาดเล็ก […]
ปัจจุบัน คาร์ซีท (Car Seat) หรือ เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ทั้ง คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีทเด็กโต บูสเตอร์ซีท มีเกณฑ์การทดสอบความปลอดภัยต่างกันและผ่านมาตรฐานมาจากหลายประเทศ แต่ทราบหรือไม่ว่า คาร์ซีทในประเทศไทย มีประกาศจากกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) มาแล้ว ว่าคาร์ซีทจะต้องผลิตหรือนำเข้าเฉพาะคาร์ซีทที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยของยุโรปเท่านั้น ทั้งนี้ ยังมีประกาศเพิ่มข้อบังคับให้คาร์ซีทต้องผ่านการทดสอบการชนจากด้านข้างด้วย ซึ่งตรงกับข้อบังคับของ มาตรฐานคาร์ซีท R129 (i-Size) เป็นมาตรฐานฉบับใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีความปลอดภัยสูงสุด ก่อนคุณพ่อคุณแม่จะตัดสินใจเลือกซื้อคาร์ซีทให้ลูกรัก แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดของ มาตรฐาน ECE R129 (i-Size) มาก่อน ว่าเพิ่มความปลอดภัยจุดไหนบ้าง เราจะพาไปทำความเข้าใจกันเลย คาร์ซีทในประเทศไทย ใช้มาตรฐานใหม่ ECE R129 (i-Size) จากเดิม ประกาศมาตรฐานความปลอดภัย (Safety Standards) ของคาร์ซีท จากกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จะเริ่มบังคับใช้ภายในปี 2566 ให้ผู้ประกอบการที่ทำหรือนำเข้าคาร์ซีท ต้องทำหรือนำเข้าเฉพาะคาร์ซีทที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก.3418-2565 โดยอ้างอิงมาจากมาตรฐานสากล ECE R44/04 (มาตรฐานยุโรป) ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) […]
น้ำนมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย องค์การอนามัยโลกหรือ WHO และยูนิเซฟ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการให้นมแม่ทันทีในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และควรให้นมแม่แก่ลูกน้อยเพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ตลอดจนให้นมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารเสริมที่มีคุณค่า ปลอดภัยและเหมาะกับอายุ ตั้งแต่เดือนที่ 6 ไปจนถึงลูกอายุ 2 ปี หรือมากกว่า หรือนานที่สุดตราบเท่าที่ลูกและแม่ยังมีความต้องการนมแม่อยู่ ด้วยเพราะนมแม่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนเพื่อพัฒนาลูกทุกด้านทั้งด้านสมอง ความฉลาด การเจริญเติบโต อารมณ์จิตใจ แถมการให้นมแม่ยังช่วยให้ครอบครัวประหยัด นมแม่สะอาด และสะดวกในการเลี้ยงลูกน้อย ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอดทุกคนตั้งใจที่จะให้นมแม่หลังคลอดทันที ตลอดจนมองหาอุปกรณ์ช่วยในการให้นมแม่ได้สำเร็จ เพื่อให้ลูกรักได้ประโยชน์จากนมแม่อย่างเต็มที่และยาวนาน “ เครื่องปั๊มนม ” ถือเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณแม่ยุคใหม่ให้นมแม่ได้สะดวกมากขึ้น และเป็นตัวช่วยสำคัญในการปั๊มนมเพื่อทำสต๊อกนมแม่ไว้ในยามที่ต้องไปทำงาน ทำให้คุณแม่หลายๆ บ้านต้องซื้อเป็นของใช้ประจำตัว แต่ก็มีคุณแม่หลายท่านมีคำถามว่าเครื่องปั๊มนมนั้นจำเป็นหรือไม่? เพราะลูกน้อยทารกสามารถดูดนมจากเต้าคุณแม่ได้ เราจึงมาชี้ให้เห็นถึงข้อดีของเครื่องปั๊มนมว่ามีความจำเป็นหรือช่วยคุณแม่ได้แค่ไหน พร้อมคำแนะนำว่าคุณแม่ควรซื้อเมื่อไร จึงจะใช้งานได้ดีและคุ้มค่าที่สุด เครื่องปั๊มนม ช่วยแม่ให้นมลูกได้อย่างไรบ้าง? เครื่องปั๊มนมได้ เลือกซื้อได้ตามทรัพย์และสไตล์ครอบครัว สำหรับบางบ้านที่คุณแม่สะดวกและมีเวลาเต็มที่เพื่อให้ลูกน้อยได้ดูดนมจากเต้าตลอดเวลา ก็เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะอาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปั๊มนมได้ แต่จากสื่อและข้อมูลต่างๆ จะเห็นว่าเครื่องปั๊มนมในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย หลายราคา ทำให้คุณแม่สามารถเลือกซื้อหาได้หลายแบบหลายชนิดตามกำลังทรัพย์ของตัวเอง […]
มาทำความรู้จักกับโรค Shaken Baby Syndromeสำหรับพ่อแม่คนไทยอาจไม่คุ้นหูกับโรคนี้ แต่ในต่างประเทศโรคนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายๆ กับคุณแม่มือใหม่ มิหนำซ้ำความรุนแรงยังอันตรายถึงชีวิตของลูกน้อย โรค Shaken Baby Syndrome คือโรคที่มักพบในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี เกิดจากการที่พ่อแม่จับลูกเขย่าแรงๆ อาจจะด้วยความตั้งใจหรือไม่นั้น แรงเขย่าจะทำให้เนื้อสมองกระแทกกับกะโหลกศีรษะ จนสมองได้รับการกระทบกระเทือนและมีเลือดออก เพราะเส้นเลือดในสมองของเด็กเล็กๆยังไม่แข็งแรง โอกาสที่มีการฉีกขาดจึงมีมากกว่าผู้ใหญ่ สาเหตุที่ทำให้ทารกเป็น Shaken Baby Syndrome จนทำให้พิการ หรือถึงขั้นเสียชีวิตเพราะการเขย่ารุนแรงจนมีภาวะเสี่ยงเป็นโรค Shaken Baby Syndrome นี้ มักจะไม่ทิ้งร่องรอยที่ร่างกายภายนอก ทารกจึงไม่ได้รับการรักษา เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานก็อาจมีปัญหาด้านการเรียนรู้ สติปัญญา อาจเกิดอาการเป็นลมชัก ตาบอด หรือร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ วิธีสังเกตอาการภาวะเสี่ยงเป็น Shaken Baby Syndrome– อาการอาเจียน หรือหายใจลำบาก ซึ่งอาจดูไม่รุนแรง คล้ายภาวะปวดท้อง ช่วง 3 เดือนแรก(Baby Colic) เมื่อพาลูกน้อยไปพบแพทย์ ต้องบอกด้วยว่าเด็กโดนเขย่าอย่างรุนแรง หากเกิดภาวะเสี่ยงเป็น Shaken Baby Syndrome […]
ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของคาร์ซีท#คาร์ซีทมือสอง ตามที่พ่อหมอเคยเขียนเรื่องการเลือกซื้อคาร์ซีทไว้แล้วตั้งแต่ตอนเปิดเพจครับ คลิกอ่านได้ครับที่https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1318721458224835&substory_index=0&id=1312969582133356 ก็เริ่มมีลูกเพจเริ่มถามเรื่อง “การซื้อคาร์ซีท” ในหัวข้อนอกเหนือจากคำถามเบื้องต้นครับ โดยเฉพาะเรื่อง “การซื้อคาร์ซีทมือสอง” หรือ “คาร์ซีทเก่า” ตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมาร ฯ ของสหรัฐอเมริกา … บอกไว้ว่า เรื่องความปลอดภัย … หมอย้ำเสมอตั้งแต่เปิดเพจครับ เป็นเรื่องที่ผ่อนปรนไม่ได้#หมอวินเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ References: การใช้คาร์ซีทมือสอง

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา The Crystal รามอินทรา
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.