เทคนิค ฝึกลูกนั่งกระโถน เตรียมให้พร้อมก่อนไปโรงเรียน

ลูกควรเลิกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่? อยากฝึกให้ลูกนั่งกระโถน นั่งชักโครกขับถ่ายเองได้เริ่มเมื่อไหร่ดี? คงเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่มักสงสัยกันใช่ไหมคะ เพราะการฝึกลูกให้เลิกใส่ผ้าอ้อม ฝึกลูกนั่งกระโถน ไปจนฝึกให้เข้าห้องน้ำเองได้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมที่จะเลิกใส่ผ้าอ้อม พร้อมนั่งกระโถนแล้ว มาเช็กกันเลยค่ะ
ทำไมต้องฝึกลูกเรื่องขับถ่าย
การฝึกลูกขับถ่ายให้เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ ที่เหมาะสมตามวัย รวมถึงเป็นการปลูกฝังด้านสุขอนามัย ความสะอาด รู้จักร่างกายตัวเอง และรู้จักการช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นได้ หากพ่อแม่ไม่สอนลูกเรื่องการขับถ่าย ปล่อยให้ขับถ่ายในผ้าอ้อมไปจนโต จะทำให้ลูกมีการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสมตามวัย เมื่อลูกต้องไปโรงเรียน จะทำให้มีปัญหาในการดูแลความสะอาด อาจเกิดการขับถ่ายเล็ดราด หรือยังต้องใส่ผ้าอ้อมจนอึดอัด ส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ ส่งผลต่อพัฒนาการตามวัยได้

ฝึกลูกนั่งชักโครก เลิกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้ตอนไหน?
วัยที่มีพัฒนาการและพฤติกรรมพร้อมพี่จะเริ่มฝึกได้ ควรเริ่มเมื่ออายุ 1 ปี – 1 ปี 6 เดือน และมักจะทำได้ดีตอนอายุ 2 ปี หรือเด็กบางคนอาจจะมาฝึกตอนอายุ 2 ปี และนั่งกระโถนได้เองตอนอายุ 3 ปี หรือบางคนอาจทำได้เมื่อโตกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมและสัญญาณต่าง ๆ ที่แสดงออกมาทั้งทางร่างกาย การสื่อสาร และความต้องการของลูก ไม่ควรเกิดจากการบังคับลูก
8 สัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมนั่งกระโถนเองได้แล้ว
- เมื่อลูกเริ่มสามารถเว้นช่วงการถ่ายปัสสาวะได้นานประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง มีความถี่ในการขับถ่ายลดลง เช่น ไม่ฉี่ใส่ผ้าอ้อมได้นาน 2 ชั่วโมง
- เริ่มถ่ายอุจจาระเป็นเวลา เช่น ในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือหลังอาหารเช้า
- ลูกเข้าใจการ ”ฉี่” การ ”อึ” รู้จักการขับถ่าย เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างการปวดปัสสาวะและอุจจาระ
- แสดงความสนใจเวลาเห็นผู้ใหญ่เข้าห้องน้ำ เลียนแบบหรือพยายามจะเดินตาม สนใจและถามว่าในห้องน้ำไว้ทำอะไร มีอะไรบ้าง
- ลูกเข้าใจภาษาพูดง่าย ๆ โดยสามารถโต้ตอบด้วยท่าทางคำพูดได้ เช่น “อึ” “ฉี่”
- ลูกสามารถลองนั่งกระโถนสำหรับเด็ก และลุกขึ้นยืนได้เอง
- เริ่มมีอาการแสดงออกบางอย่างเมื่อจะขับถ่าย เช่น ทำท่าทางปวดฉี่ บิดขาไปมาและมองหาห้องน้ำ แสดงความตื่นเต้นเมื่อเห็นปัสสาวะตัวเองพุ่ง หรือรู้สึกอึดอัด ทำท่าจับท้องจับก้นของตัวเอง
- ลูกอยากสวมกางเกงแทนผ้าอ้อม รู้สึกอึดอัดเมื่อผ้าอ้อมเปียกหรือมีสิ่งขับถ่ายในผ้าอ้อม เริ่มพยายามดึงผ้าอ้อม ถอดกางเกงหรือใส่กางเกงเองได้

7 เทคนิคฝึกลูกขับถ่าย นั่งกระโถน
1. สอนให้ลูกบอกเมื่อต้องการขับถ่าย และรู้จักสถานที่ขับถ่ายที่เหมาะสม
เมื่อลูกพูด “อึ” หรือ “ฉี่” ได้แล้ว ให้สังเกตการแสดงออกของลูก เมื่อจะขับถ่าย เช่น ลูกกำลังเล่นอยู่แต่หยุด ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด อารมณ์ไม่ดี จับที่ผ้าอ้อม อวัยวะเพศหรือก้น คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปถามลูกว่า “ฉี่ไหม” หรือ “อึไหม” เพื่อให้ลูกรู้ว่าเป็นการปวดปัสสาวะ หรืออุจจาระ แล้วจึงพาไปที่กระโถนหรือห้องน้ำ
กรณีที่ลูกถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระบนผ้าอ้อม หรือรดกางเกงไปแล้ว ควรพูดให้ลูกรู้ว่า “ลูกฉี่หรือ ลูกอึ” แล้วพาไปเข้าห้องน้ำ ล้างทำความสะอาด และให้ทิ้งสิ่งขับถ่ายลงในโถส้วมให้ลูกเห็น ให้รู้ว่าเวลาขับถ่ายแล้วต้องทำอะไรบ้าง
2. สร้างความคุ้นเคยกับกระโถน
แรก ๆ ลูกเห็นกระโถนอาจจะยังไม่กล้านั่ง หรือกลัว พ่อแม่อาจต้องทำท่าทางให้ลูกดู และลองให้ลูกคุ้นเคยกับการนั่งกระโถน ให้ลูกลองนั่งกระโถนบ่อย ๆ อาจนั่งโดยที่ลูกยังสวมผ้าอ้อมไว้ก่อนก็ได้ หรือถ้าลูกยอมก็ให้นั่งในขณะที่ไม่ได้สวมผ้าอ้อม และเพื่อไม่ให้ลูกเครียดหรือกลัวในขณะที่นั่งกระโถน ก็สามารถอ่านนิทานให้ฟัง พูดคุยเล่นกับลูก หรือ เล่นของเล่นได้

3. ฝึกขับถ่ายให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา
ในระหว่างวัน ควรกำหนดหรือกะเวลาให้ลูกถ่ายปัสสาวะทุก 2-3 ชั่วโมง และให้ถ่ายอุจจาระทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เช่น ให้ลูกนั่งกระโถนในช่วงเช้าทุกวันหลังตื่นนอน หรือหลังมื้ออาหารเพื่อถ่ายอุจจาระ แต่ต้องให้ลูกเต็มใจไม่บังคับ รวมทั้งอาจให้ลูกเริ่มถอดกางเกงหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปในช่วงสั้น ๆ และวางกระโถนไว้ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกลองนั่งเล่นหรือนั่งขับถ่ายได้ตามต้องการ
4. ดื่มน้ำและกินอาหารช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
ถ้าลูกท้องผูกเขาจะกลัวเจ็บและไม่อยากขับถ่าย จึงควรให้ลูกทานผัก ผลไม้ ดื่มน้ำให้มากพอ ช่วยกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะและช่วยให้อุจจาระนุ่มถ่ายออกง่าย ซึ่งในเด็กที่อายุประมาณ 1-2 ปีขึ้นไป ไม่ควรดื่มนมมากเกิน 32 ออนซ์ ต่อวัน แต่ควรให้นมเป็นเพียงอาหารเสริม เนื่องจากนมมีปริมาณไขมันมาก ทำให้การเคลื่อนตัวของลำไส้ช้าลง จะส่งผลให้การฝึกขับถ่ายอุจจาระยากขึ้น
5. นั่งชักโครกเมื่อลูกโตขึ้น
เมื่อลูกนั่งกระโถนได้และเติบโตขึ้น นั่งเองได้แข็งแรงแล้ว อาจพัฒนามาฝึกขับถ่ายที่โถส้วมในห้องน้ำ ด้วยการใช้ฝารองนั่งชักโครก และหาที่วางเท้าให้ลูกวางได้เต็มฝ่าเท้า ไม่ให้เท้าลอยจากพื้นเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มลื่น หรือ ฝึกลูกชายให้ฉี่ในโถปัสสาวะเด็ก ให้ลูกชายได้รู้จักปลดหรือรูดซิปกางเกงเองได้ ยืนฉี่เองได้ และพ่อแม่ต้องอยู่ดูแลลูกตลอดเวลา

6. สอนเรื่องการทำความสะอาด
เมื่อลูกคุ้นเคยสามารถถอดผ้าอ้อมสำเร็จรูป ถอดกางเกง และนั่งกระโถนเองได้ ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปทำความสะอาดพร้อมสอนเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างก้นด้วยน้ำสะอาด เช็ดก้นด้วยกระดาษชำระ ป้ายจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อไม่ให้อุจจาระมาเปื้อนด้านหน้า โดยเฉพาะในเด็กหญิง รวมถึงสอนให้ลูกล้างมือหลังจากใช้กระโถน และเช็ดชำระล้างก้นแล้ว

7. เลือกกระโถนที่ถูกใจ เป็นของใช้ประจำตัว
ให้ลูกเลือกลายและสีของกระโถนหรือฝาชักโครกเอง โดยคุณพ่อคุณแม่ควรจะให้ตัวเลือกโดยดูจากขนาดที่พอเหมาะกับตัวลูก ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ให้ลูกนั่งได้สบาย นอกจากนี้กระโถนของลูก ควรต้องผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัย ผิวกระโถนควรเรียบลื่น ไม่มีเหลี่ยมแหลมคมหรือเศษวัสดุยื่นออกมาบาดผิว และควรออกแบบมาให้ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีซอกเล็กซอกน้อยที่ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง แบรนด์แนะนำ เช่น PUR กระโถนเด็ก Potty 3 in 1 , PUR ฝารองนั่งชักโครกเด็ก Toilet
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
ความเชื่อแรกที่ต้องมี..คาร์ซีทคือสิ่งสำคัญ เคยคิดไหมว่าถ้าวันหนึ่งคุณขับรถประสบอุบัติเหตุจนทำให้ลูกน้อยๆ ของคุณได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต คุณจะใช้ชีวิตต่อไปยังไง?? ผมถือว่าผมเป็นคนที่โชคดีคนหนึ่งที่ได้รับการปลูกฝังให้เห็นความสำคัญของคาร์ซีทสำหรับเด็กๆ ทั้งจากคุณหมอประจำตัวลูกๆ พี่สาว ภรรยา ตลอดจนเพื่อนๆของผมและภรรยาที่เคยมีลูกมาก่อน ที่พร่ำสอนว่า ต้องให้เด็กนั่งคาร์ซีททุกครั้งที่ขึ้นรถนะ… ทุกครั้งที่ผมเดินทางไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ผมกับภรรยาจะให้ลูกๆนั่งคาร์ซีทตลอดเวลา ถึงแม้ช่วงแรกๆ (รวมถึงช่วงหลังๆด้วยบางเวลา) เค้าจะร้องไห้ฟูมฟายก็ตาม เราก็ต้องใจแข็งปล่อยให้ร้องไห้ไป เพราะถือคติว่า “safety first” พอนานๆเข้า เด็กๆก็จะเริ่มรู้เงื่อนไขเองว่า ถ้าไม่นั่งบนคาร์ซีทจะไม่ได้ขึ้นรถไปด้วย แม้แต่วันแรกที่พาลูกออกจากโรงพยาบาลหลังคลอด ผมและภรรยาก็ให้ลูกน้อยนั่งคาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิด …เชื่อว่าพ่อแม่หลายคนมักจะใจอ่อน และมักจะคิดว่านิดหน่อยคงไม่เป็นอะไร แต่อย่าลืมว่าอุบัติเหตุมันเกิดขึ้นได้ทุกวินาทีจริงๆ แข็งใจปล่อยให้ลูกร้องไห้ ดีกว่าไม่มีโอกาสให้เขาได้ร้องไห้นะครับ… กระนั้นก็ดี ด้วยความที่คาร์ซีทยี่ห้อดีๆมักจะมีราคาสูง(มาก) เดิมทีผมมีลูกชายคนเดียวก็มีสำหรับเด็กแรกเกิดถึงสองขวบ ต่อมาพอน้องปัณณ์โตขึ้นก็กัดฟันควักกระเป๋าซื้อสำหรับเด็ก 1-5 ขวบ มาอีกตัว จากนั้นพอผมมีน้องปุณณ์ ลูกสาวอีกคนที่อายุย่างเข้า 9 เดือน ภรรยาก็อยากได้ คาร์ซีทที่แข็งแรงๆ อีกอันไว้ให้น้องปัณณ์นั่ง ส่วนน้องปุณณ์จะขยับมานั่งอันที่สองแทน ผมก็คัดค้านเพราะเห็นว่าสิ้นเปลือง อันแรกยังใช้ได้อยู่เลย… แต่สุดท้ายก็ทนไม่ไหว ยอมควักเงินอีกสองหมื่นกว่าซื้อมาอีกตัวอย่างเสียไม่ได้ หลังจากซื้อมาได้เพียงเดือนเดียว เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันและร้ายแรงที่สุดในชีวิตผมก็เกิดขึ้นจนได้ ผมกับครอบครัวเดินทางไป กทม. โดยลูกชายผมนั่งคาร์ซีทตัวใหม่อยู่ด้านข้างคนขับ (ขยับเบาะให้ไกลจาก […]
คาร์ซีท AILEBEBE กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่าได้รับคาร์ซีทของแท้และนำเข้าถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมบริการหลังการขายที่ใส่ใจเหมือนครอบครัว เราขอแนะนำให้ตรวจสอบ 2 ขั้นตอนง่าย ๆ นี้เลยค่ะ วิธีตรวจสอบคาร์ซีท AILEBEBE ของแท้ 1. ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ว่ามีคำแนะนำเป็นภาษาไทยหรือไม่ ? คาร์ซีท Ailebebe ของแท้จะมีฉลากและคำแนะนำการใช้งานเป็นภาษาไทย เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์, ข้อมูลผู้ผลิต, วิธีการใช้งาน, และคำเตือนด้านความปลอดภัย ตามที่กฎหมายประเทศไทยกำหนด การมีฉลากภาษาไทยนี้ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจในการใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย 2. ตรวจสอบว่ามีสติกเกอร์ BabyGift ตัวแทนนำเข้า Offical หรือไม่ ? คาร์ซีท Ailebebe ของแท้ จะมีการรับประกันและใช้อะไหล่แท้จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถหาได้เฉพาะจากตัวแทน Official เท่านั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสินค้าที่อาจไม่ได้มาตรฐานและไม่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย เพียงแค่นี้คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถมั่นใจได้ว่ากำลังซื้อสินค้าของแท้นำเข้ามาถูกต้อง ใช้ได้อย่างถูกวิธีช่วยให้ลูกน้อยปลอดภัยทุกการเดินทาง หยุดเสี่ยง หยุดใช้คาร์ซีท Ailebebe นำเข้าผิดกฎหมาย การซื้อคาร์ซีท Ailebebe จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของลูกน้อยดังนี้ค่ะ 1.ความเสี่ยงจากการใช้งานคาร์ซีทไม่ถูกต้อง ผู้ลักลอบจำหน่ายมักขาดความรู้และความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้งาน และคำแนะนำตามมาตรฐานที่แบรนด์กำหนด เนื่องจากไม่ได้รับการอบรมจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Ailebebe […]
สำหรับคนที่ชอบการเข้าครัว ทำอาหาร ถนอมอาหาร คงรู้จัก อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium foil) กันอย่างแน่นอน เพราะเป็นอุปกรณ์ในการถนอมอาหารและใช้ในการนำความร้อนปรุงอาหาร ปัจจุบันได้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ นำอลูมิเนียมฟอยล์ไปแปรรูปเป็น ถุงเก็บน้ำนม อลูมิเนียมฟอยล์ เพื่อช่วยในการเก็บรักษาน้ำนมแม่ ไม่ให้มีกลิ่นเหม็นหืน และยังช่วยให้อุ่นนมได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมาก ๆ เราจึงได้หาข้อมูลคุณสมบัติทั้งข้อดีและข้อเสียมาบอกกัน จะน่าใช้หรือไม่ ตอบโจทย์คุณแม่นักปั๊มแค่ไหน ไปดูกันเลย ถุงเก็บน้ำนม อลูมิเนียมฟอยล์ คืออะไร ? คือ การใช้แผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ เป็นวัสดุหลักในการผลิตถุงเก็บน้ำนม แทนการใช้พลาสติก โดยการขึ้นรูปถุงนมด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ ผ่านการเคลือบด้วย Polyethylene, Polyamide และ Polyester รวม 4 ชั้น ให้ถุงเก็บน้ำนมแข็งแรงทนทานกว่าถุงเก็บน้ำนมพลาสติกใสทั่วไป รวมถึงอลูมิเนียมฟอยล์จะมีคุณสมบัติทึบแสง 100% เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนมแม่ให้คงรสชาติ กลิ่นไม่เหม็นหืน แบบเดียวกันกับการห่ออาหาร ถนอมอาหารในครัวเรือน ทดลองอุ่นนมแม่แช่แข็ง ด้วยเครื่องอุ่นนม Baby Bottle Warmerถุงเก็บน้ำนม อลูมิเนียมฟอยล์ VS ถุงเก็บน้ำนมพลาสติก ถุงเก็บน้ำนมอลูมิเนียมฟอยล์ *อลูมิเนียมฟอยล์นำความร้อนได้ดี จะไม่ต้องใช้โหมดละลายน้ำแข็ง (Defrost) เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำนมสูงเกินไป* ถุงเก็บน้ำนมพลาสติก *ความร้อน 60 […]
เคล็ดลับการฝึกลูกนั่งคาร์ซีท car seat จากประสบการณ์จริงคุณแม่ลูกสอง โดย แม่ป่าน เพจ เลี้ยงลูกอย่างมีความสุข by mommy Arpan 1. ฝึกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ : ถ้าเป็นไปได้จัดเตรียมคาร์ซีท car seat ไว้ก่อนคลอด และให้ลูกนั่งตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล จะช่วยสร้างความคุ้นเคยให้กับทั้งตัวลูกและพ่อแม่ 2. ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอจนกลายเป็น routine (กิจวัตร) : ไม่ว่าจะไปไหน ใกล้หรือไกลต้องให้เด็กนั่ง car seat ทุกครั้ง เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ ปฏิบัติจนคุ้นชิน และทุกอย่างจะง่ายขึ้นเองค่ะ 3. ปรับทัศนคติให้ตรงกัน (ปัญหาหลักที่หลายบ้านพบเจอ) : โดยเฉพาะผู้ใหญ่ในบ้านที่อาจจะยังไม่เข้าใจ หรือยังมองไม่เห็นความสำคัญ ลองนั่งพูดคุยบอกเล่าเหตุการณ์ๆต่างๆในข่าว ที่เวลาเกิดอุบัติเหตุและเด็กที่นั่ง car seat รอดชีวิต เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้นั่งและเกิดความสูญเสียร้ายแรงตามมา และลองคุยปรับความเข้าใจกับท่านดู เชื่อว่าถ้าท่านรักและห่วงหลานๆเป็นทุน ยังไงวันหนึ่งท่านจะเข้าใจค่ะ อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำคือลองหาวิดิโอใน Youtube สาธิตแรงกระแทกที่เกิดขณะรถชน (จะมีสาธิตเปรียบเทียบระหว่างมีคนอุ้มเด็ก กับเด็กนั่งคาร์ซีท ….หวังว่าภาพที่เห็นจะสามารถเปลี่ยนใจของบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านได้นะคะ […]
หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กฎหมายคาร์ซีท เกี่ยวกับเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี หรือสูงไม่เกิน 135 ซม. ผู้ปกครองต้องจัดหาที่นั่งพิเศษให้สำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากไม่ทำตามกฏหมายก็จะถูกปรับ 2,000 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วันข้างหน้า ซึ่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน 2565 นี้ เมื่อมี กฎหมายคาร์ซีท ออกมาแล้วคุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็ต้องมองหาคาร์ซีทให้ลูกอย่างจริงจังเลยใช่ไหมคะ แล้วคาร์ซีทแบบไหนเหมาะสำหรับลูกเรา แบบไหนปลอดภัยกว่า วันนี้ Baby Gift ได้รวบรวมข้อมูลมาให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้เตรียมความพร้อมแล้วค่ะ ไปดูกันเลย หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กฎหมายคาร์ซีท เกี่ยวกับเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ปี หรือสูงไม่เกิน 135 ซม. ผู้ปกครองต้องจัดหาที่นั่งพิเศษให้สำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (คาร์ซีท) เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากไม่ทำตามกฏหมายก็จะถูกปรับ 2,000 บาท โดยจะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วันข้างหน้า ซึ่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน 2565 […]

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา The Crystal รามอินทรา
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.