อุ่นนมแม่ อย่างไร? ให้ลูกได้สารอาหารครบถ้วน

นมแม่ คืออาหารมหัศจรรย์ของลูกน้อย อุดมด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ที่ครบถ้วนและเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกน้อย ซึ่งคุณค่าสารอาหารในนมแม่ สำคัญที่สุดต่อการช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกทุกด้าน ได้แก่
- สารอาหารสร้างพัฒนาการสมอง ทั้ง ดีเอชเอ เอเอ กรดไขมันจำเป็นโอเมก้า3 โอเมก้า 6 ทอรีนและอื่นๆ ที่ช่วยพัฒนาระบบประสาทและการทำงานของสมองลูกน้อย
- สารอาหารเพื่อร่างกายลูกน้อยเติบโตแข็งแรง เพราะมีทั้งโปรตีนที่มีประโยชน์และย่อยง่าย แคลเซียม ธาตุเหล็ก ไขมัน คาร์โบไฮเดรต growth factor และวิตามินที่จำเป็นต่างๆ อีกมากมาย เพื่อให้ลูกมีร่างกายสูงใหญ่ แข็งแรงสมวัยเสมอ
- นมแม่มีสารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันธรรมชาติให้ลูก เทียบเท่ากับวัคซีนเป็นพันเข็ม ซึ่งเป็นสารภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่สามารถหาได้จากอาหารอื่น ช่วยลดภูมิแพ้ และป้องกันการติดเชื้อจากโรคภัยต่างๆ ทำให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่เจ็บป่วยง่ายนั่นเอง
- นมแม่ มีสารที่ช่วยในเรื่องระบบย่อยและฮอร์โมนต่างๆ ช่วยให้ลูกขับถ่ายง่าย อารมณ์ดี จิตใจแจ่มใส ยิ้มง่าย และยังได้รับความอบอุ่นปลอดภัย สร้างสายสัมพันธ์แห่งความผูกพันจากใจคุณแม่ ทำให้คุณหนูเลี้ยงง่าย อารมณ์ดีมีความสุข

อุ่นนมแม่ให้ถูก ลูกได้คุณค่าเต็มที่
เมื่อรู้ว่านมแม่มีคุณค่ามหาศาลอย่างนี้แล้ว คุณแม่ต้องให้ลูกน้อยกินนมแม่ให้นานที่สุด เพื่อให้ลูกได้รับคุณค่าน้ำนมให้มากที่สุด ด้วยการทำสต๊อกนมแม่เก็บไว้ให้ลูก และให้ความสำคัญกับการอุ่นนมแม่ที่แช่แข็งหรือทำสต๊อกไว้มาให้ลูกกินด้วย เพราะหากอุ่นนมแม่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ลูกเจ็บป่วยท้องเสีย แถมยังสูญเสียสารอาหารที่มีคุณค่าในนมแม่ไป เราจึงขอแนะนำวิธีการอุ่นนมที่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ดีที่สุดมาฝากกันค่ะ
วิธี อุ่นนมแม่ จากช่องแช่แข็ง
- นำนมแม่ในถุงเก็บน้ำนมที่แช่แข็งจากช่องฟรีซ ย้ายลงมาแช่ในช่องธรรมดาด้านล่าง เพื่อเตรียมก่อนจะใช้ 1 คืน ให้นมแม่ค่อยๆ ละลายในวันรุ่งขึ้น โดยนำนมเก่าที่คุณแม่ปั๊มเก็บไว้มาใช้ก่อนตามลำดับวัน เวลา ที่เขียนไว้หน้าถุงเก็บน้ำนม
- เมื่อนมแม่ละลาย ให้แบ่งนมแม่ใส่ขวด ในปริมาณที่ลูกกินเฉพาะมื้อต่อมื้อเท่านั้น แล้วจึงค่อยนำมาอุ่น ซึ่งนมส่วนที่เหลือในช่องตู้เย็นธรรมดาจะสามารถเก็บให้ลูกกินได้อีก 2-3 วัน
- ไม่ควรนำนมแช่เข็ง ออกมาวางปล่อยให้ละลายเองที่อุณหภูมิห้อง เพราะอาจทำให้คุณแม่ทิ้งไว้จนลืมเวลา หรือทิ้งไว้นานเกินไป จนทำให้นมแม่เสียได้
- วิธีการอุ่นนมแม่ที่ดีและถูกต้องคือ นำนมแม่ไปแช่ไว้ในถ้วยหรือกะละมังเล็กๆ ที่ใส่น้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดาอุณหภูมิห้อง จนนมแม่หายเย็น
- ห้ามอุ่นนมแม่ด้วยการนำไปใส่ไมโครเวฟ หรือแช่ในน้ำร้อน นมแม่ควรผ่านความร้อนให้น้อยที่สุด เพราะความร้อนจะไปทำลายสารอาหารสำคัญในนมแม่ เช่น วิตามินบางตัว สารภูมิคุ้มกัน ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวลดลง และอื่นๆ รวมทั้งน้ำนมอาจจะร้อนเกินไปจนลวกปากลูกน้อยได้
- หลังนมละลาย อาจมีชั้นของไขมันนมลอยอยู่ด้านบน แยกกับส่วนที่เห็นเป็นน้ำ ให้คุณแม่ค่อยๆเขย่าหรือแกว่งเบาๆ ให้นมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันก่อนให้ลูกน้อยกิน
- น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้วอาจมีกลิ่นหืนนิดหน่อย แต่ไม่เสีย ลูกน้อยสามารถกินได้ไม่มีอันตราย
- ถ้าลูกน้อย ไม่ปฏิเสธหรือยอมกินนมเย็นๆ ได้ อาจไม่ต้องนำมาแช่ในน้ำอุ่น โดยเมื่อนมแม่ละลายตัวเข้ากันในช่องแช่เย็นธรรมดาแล้ว ก็สามารถนำมาให้ลูกกินนมแบบเย็นๆ ได้ทันที

ปัจจุบันมีเครื่องอุ่นนม ที่ช่วยอำนวยความสะดวกคุณแม่ในการละลายนมแม่แช่แข็ง ซึ่งมีการทำงานที่หลากหลายทั้งอุ่นนม ละลายน้ำแข็ง อุ่นอาหาร และฆ่าเชื้อได้ โดยคุณแม่ควรพิจารณาเลือกซื้อที่มีมาตรฐานความปลอดภัย สามารถเลือกปรับอุณหภูมิได้ตามความเหมาะสม เพื่อรักษาคุณค่าของนมแม่ไว้ให้ครบถ้วน
ข้อควรระวัง
- คุณแม่ควรทดสอบอุณหภูมิของน้ำนม ด้วยการหยดใส่หลังมือ โดยต้องไม่รู้สึกร้อนหรือเย็นเกินไป เพราะนมที่ร้อนเกินไปอันตรายต่อทางเดินอาหารของลูก ตั้งแต่อาการพุพอง จนอาจกระตุ้นให้เกิดเนื้องอกในกระเพาะอาหาร และยังทำลายเซล์เม็ดเลือดขาวในนมแม่ ส่วนนมที่เย็นเกินไป จะทำให้ลูกทารกมีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำได้ด้วย
- คุณแม่ควรดมกลิ่นนมสต็อกหลังจากละลายน้ำแข็ง หรืออุ่นนมแม่แล้วทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่านมมีลักษณะเสียหรือไม่ ซึ่งนมที่เสียจะมีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นรุนแรงมาก
- นมแม่ที่อุ่นจนละลายแล้ว ไม่สามารถเก็บได้นานเกิน 2-3 ชั่วโมง ในอุณหภูมิห้อง ดังนั้นจึงควรให้ลูกกินนมจนหมด หรือเก็บต่อได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง แล้วต้องทิ้งไป
- ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่

เรื่องเข้าใจผิดของการ อุ่นนมแม่ ทำเสียคุณค่าน้ำนม
- นำนมไปแช่ในน้ำร้อน หรือนำไปนึ่งได้ เพื่อให้ละลายเร็ว
ความจริงคือ ไม่ควรนำนมแม่ไปละลายในน้ำร้อน เพราะความร้อนจะทำให้สารอาหารสำคัญในนมแม่ที่มีคุณค่าต่อลูกน้อยเสียไป - ละลายนมแม่ หรืออุ่นให้ร้อนเร็วได้ด้วยไมโครเวฟ
ความจริงคือ ห้ามนำนมไปอุ่นหรือทำให้ร้อนในไมโครเวฟ เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายสารภูมิคุ้มกัน และสารอาหารจำเป็นในนมแม่ ทำให้ลูกไม่ได้รับสารอาหารที่สำคัญครบถ้วน และน้ำนมอาจร้อนเกินไปจนลวกปากลูกได้ด้วย - หากลูกนมแม่ที่อุ่นแล้วไม่หมด ยังเก็บนมแม่นั้นให้ลูกกินมื้อถัดไปได้อีก
ความจริงคือ ไม่ควรนำนมที่ออกมาอุ่นแล้ว หรือนมที่เหลือ มาให้ลูกกินในมื้อถัดไป เพราะนมที่ละลายแล้วจะเก็บได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง นมอาจจะเสียหรือบูด เสี่ยงทำให้ลูกน้อย ปวดท้อง ท้องเสียหรือเจ็บป่วยได้ - ลูกกินนมเย็นไม่ได้ เดี๋ยวปวดท้อง ท้องเสีย!
ความจริงคือ การกินนมแม่ที่ละลายแล้วแบบเย็น ไม่ทำให้ลูกปวดท้องหรือ ท้องเสีย และนมแม่ก็ยังมีคุณค่าสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกน้อย แต่หากลูกไม่ชอบกินนมเย็น คุณแม่ก็เพียงนำขวดนมแม่มาแช่ในน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้องรอให้หายเย็นลงเท่านั้น - นมแม่ที่ละลายแล้วมีกลิ่นหืน คือเสีย! ให้ลูกกินไม่ได้
ความจริงคือ น้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้ เมื่อละลายหรืออุ่นแล้วอาจมีกลิ่นหืนได้บ้าง แต่ไม่ได้เสีย ลูกน้อยสามารถกินได้ เพราะยังคงมีคุณค่าสารอาหาร และไม่มีอันตราย ยกเว้นกรณีนมแม่มีกลิ่นรุนแรงมาก และมีรสเปรี้ยว แสดงว่านมนั้นเสียแล้วไม่ควรให้ลูกกิน
ข้อมูลเพิ่มเติม :
https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/HpH/admin/news_files/718_49_1.pdf, FB: สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ,
https://www.phyathai.com/
https://library.thaibf.com/ (คลังข้อมูล มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย)
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
หนาวนี้แม่ๆ มีแพลนพาลูกๆ ไปเที่ยวที่ไหนกันคะ… สำหรับบ้านนี้ เราจะไปญี่ปุ่นกันค่ะ เราแพลนและจองตั๋วกันไว้ตั้งแต่ พ.ย. ที่แล้ว เลือกไปช่วงฤดูใบไม้เปลี่ยนสี จุดหมายคือ อยากพาลูกสาว น้องเจเปค ไปดูภูเขาไฟภูจิและเดินเที่ยวในโตเกียว อยากให้เค้าเห็นการใช้ชีวิตที่เป็นระเบียบมากๆ ของคนญี่ปุ่นค่ะ (เพราะอยู่บ้านนางจะกรี๊ดกร๊าดหน่อยๆ) ควรพาลูกเที่ยวตอนอายุเท่าไหร่… เป็นคำถามที่แม่ๆ กังวล กลัวนู้นนี่ รวมถึงเสียงจากรอบข้างว่าน้องยังเล็ก เที่ยวไปก็จำอะไรไม่ได้ แต่บ้างบ้านก็อยากใช้สิทธิ์ค่าตั๋วราคาพิเศษสำหรับเด็ก 7 วัน – ไม่เกิน 2 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสายการบิน สำหรับน้องเจเปค ครั้งนี้เป็นการไปญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ขอเล่าย้อนหลังนิดนึงค่ะ ครั้งแรกของน้องไปตอน 1 ขวบ 1 เดือน เป็นช่วงใบไม้เปลี่ยนสีที่โอซาก้า อย่างที่บอกไปตอนต้น ว่าเสียงรอบ ๆ ตัวที่บอกว่าน้องยังเล็กไป พาไปก็ไม่รู้เรื่องหรอก จำอะไรไม่ได้หรอก แต่หลังจากกลับมาจากรอบแรก หลายครั้งที่น้องเจออะไรเกี่ยวกับที่ตัวเองเคยทำที่นู่น ไม่ว่าจะเป็นขึ้นรถไฟ โหนรถไฟ ใบไม้แดง อาหารญี่ปุ่น น้องจำได้เยอะจนทุกคนงงไปเหมือนกัน เราพ่อแม่ก็แฮปปี้สิคะ จริงๆแล้วลูกสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆได้ แต่อาจจะจำได้ไม่ละเอียดเหมือนผู้ใหญ่ เด็กวัย […]
รวมสุดยอดวิธี เลือกเป้อุ้มทารก เพราะเป้อุ้มเด็ก เป็นเครื่องทุ่นแรงที่สำคัญยิ่งสำหรับคุณแม่ ที่เรียกได้ว่าคืออุปกรณ์คู่กายคู่ใจที่พาคุณแม่และลูกน้อยไปทำกิจวัตรด้วยกันได้เสมอ เป้อุ้มลูกนี้จึงเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกประจำบ้านที่กำลังเลี้ยงลูกอ่อน ยิ่งเป็นครอบครัวเล็กที่คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวไม่มีคนมาช่วยเลี้ยงลูก ในช่วงเวลาที่คุณพ่อไปทำงานนอกบ้าน ยิ่งถือเป็นของใช้ที่จะช่วยให้คุณแม่ทำงานและกิจกรรมอื่นๆได้ พร้อมเลี้ยงลูกได้แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งในยุคสมัยที่การหาเงินได้ฝืดเคือง และข้าวของใช้ราคาสูงเช่นนี้ การเลือกซื้อเป้อุ้มลูกทั้งที เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องพิจารณาอย่างถ้วนถี่ และเลือกใช้ให้คุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่าย แต่จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป้อุ้มเด็กแบบไหนดี ทนทานปลอดภัย ใช้งานได้นานจนลูกโต ลองมาอ่านเทคนิคดีๆ เหล่านี้กันเลย 1 ตอบโจทย์การใช้งาน การเลี้ยงลูกของครอบครัว นั่นคือการเลือกให้ตรงกับสไตล์การเลี้ยงลูกของครอบครัว การทำงานของคุณพ่อคุณแม่และการเดินทางของคนในบ้าน ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ขนาดของครอบครัวและคนช่วยเลี้ยงลูก เพราะหากเป็นครอบครัวเล็ก คุณแม่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว คุณพ่อไปทำงาน จำเป็นต้องใช้เป้อุ้มลูก สำหรับเวลาทำงานบ้าน ทำธุระหรือจำเป็นต้องออกไปซื้อของนอกบ้าน แม้แต่เป็นครอบครัวใหญ่ อาจจะได้ใช้เวลาคุณแม่ต้องทำธุระ ผลัดกันใช้เวลาเดินทางไปข้างนอก สิ่งของที่ใช้กับลูก เวลาที่ต้องพาลูกออกนอกบ้าน เพราะหากคุณพ่อคุณแม่มีข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ต้องพกไปมาก การใช้เป้อุ้มเด็กก็จะทำให้สะดวก พ่อแม่ถือของใช้ และซื้อของได้สบาย ไม่ต้องใช้มืออุ้มหรือเข็นลูก หรือหากเวลาไปไหนที่ต้องใช้พื้นที่จำกัดการใช้เป้อุ้มเด็กก็จะไม่ต้องเปลืองพื้นที่เพราะพับเก็บได้ พกพาง่ายกว่ารถเข็น การเดินทางของครอบครัว หมายถึงสังเกตการใช้ชีวิตของครอบครัวว่า ต้องออกไปต่างจังหวัด หรือไปเยี่ยมญาติบ่อยหรือเปล่า ใช้เวลาพาลูกออกนอกบ้านนานแค่ไหน หากต้องไปที่ไหนไม่นานนัก การใช้เป้อุ้มเด็กจะมีความคล่องตัวสะดวกกว่ารถเข็น […]
แพมเพิส หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป เรียกว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเด็กเล็กที่จะใช้กันตั้งแต่แรกเกิด เพราะว่าช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบายมากขึ้น ประหยัดเวลาในการซักทำความสะอาด แถมเวลาออกจากบ้านก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเปื้อนเลอะ ซึ่งคุณแม่หลายๆ คนอาจจะมีคำถามในใจว่าจะให้ลูกเลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ดังนั้นในบทความนี้ BabyGift จะมาไขข้อข้องใจให้กับคุณแม่กันค่ะ ให้ลูกเลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ? ชวนคุณแม่ทำความเข้าใจก่อนให้ลูกเลิกใช้แพมเพิส หนึ่งในคำถามยอดนิยมของเหล่าคุณแม่ก็หนีไม่พ้นเรื่องที่ว่าจะให้ลูกเลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่ดี เนื่องจากเรื่องของค่าใช้จ่าย ความกังวลที่ว่าลูกจะติดแพมเพิส ความสะดวกสบายในการสวมใส่ของเด็ก ฯลฯ อีกมากมาย สำหรับเรื่องของช่วงเวลาของการเลิกแพมเพิสนั้นจะเป็นยังไงบ้าง เรามาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ เลิกแพมเพิสกี่ขวบดี ? ถ้าจะถามว่าควรเลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเมื่อไหร่ดี จริงๆ ไม่ได้มีกำหนดตายตัวค่ะ อยากให้ดูจากความพร้อมของลูก และคุณพ่อ คุณแม่ มากกว่า เด็กบางคน 8 เดือนก็เลิกได้แล้ว บางคนก็มาเลิกได้ตอนช่วงก่อนเข้าโรงเรียนในช่วง 3 – 4 ขวบ ดังนั้น BabyGift จึงพูดได้ว่าไม่ได้มีกำหนดเวลาตายตัวจริงๆ และคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรไปกดดันน้องๆ ให้ลูกของเรามีความพร้อมจะดีที่สุดค่ะ ซึ่งสิ่งสำคัญคือต้องอดทนและให้กำลังใจเด็ก เพราะว่าการฝึกขับถ่ายเป็นก้าวสำคัญของพัฒนาการ และแต่ละคนมีจังหวะที่แตกต่างกัน ไม่ควรกดดันหรือเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น และหากว่าคุณแม่มีข้อกังวลอื่นๆ อาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำค่ะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า ลูกของเราพร้อมที่จะเลิกแพมเพิส ? สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือ ให้ลูกสบายใจ […]
เลือก ถุงเก็บน้ำนม ยี่ห้อไหนดี ? ต้องดูที่อะไรบ้าง ? น้ำนมจะเหม็นหืนมั้ย ? คุณค่าน้ำนมแม่ยังอยู่ครบถ้วนรึเปล่า ? ? อีกคำถามที่แม่ๆมักสงสัย เพราะไม่ใช่แค่ถุงเก็บนมแม่ แต่นี่คือถุงใส่อาหารของลูก วันนี้ BabyGift มี 7 เทคนิค เลือกถุงเก็บน้ำนมที่คุณแม่นักปั๊มมือใหม่ ต้องชอบแน่นอน ? จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่า 1. พลาสติกหนา ทึบแสง ซิปล็อค 2 ชั้น ควรเลือก ถุงเก็บน้ำนมแม่ ที่ใช้วัสดุพลาสติกหนาทึบแสง มีความแข็งแรงไม่แตกหรือไม่รั่วซึมได้ง่าย และมีซิปล็อคแบบ 2 ชั้น เพื่อลดการรั่วซึมของน้ำนมแม่ออกจากถุง ช่วยลดกลิ่นเหม็นหืนในน้ำนมได้ และสามารถคงคุณค่าของน้ำนมแม่ได้เป็นอย่างดี 2. ขนาดที่เหมาะสมกับน้ำนมที่ปั๊มได้ช่วงเวลานั้น ถุงเก็บน้ำนมแม่ ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับน้ำนมที่ปั๊มได้ช่วงในเวลานั้น อย่างช่วงแรกๆที่แม่อาจจะปั๊มได้ในไม่เยอะมากก็ควรเลือกใช้ขนาดเล็กลงมาหน่อย (4-5 ออนซ์) แล้วพอคุณแม่เริ่มปั๊มนมได้เยอะมากขึ้นค่อยขยับขนาดใหญ่ขึ้นไป การเลือกขนาดถุงพอดีกับน้ำนม จะช่วยให้แม่ๆประหยัดพื้นที่จัดเก็บในตู้แช่ได้ขนาดข้างเยอะ และยังไม่เปลืองถุง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเลยทีเดียวค่ะ 3. มีแถบบันทึก เขียนง่าย ชัดเจน ควรมีแถบเขียนเอาไว้จดรายละเอียดต่างๆ อย่างเช่น […]
เพราะแม่แต่ละคนมีความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่าง Aprica จึงสรรสร้างนวัตกรรมที่รองรับทุกความต้องการด้วยรถเข็นเด็กหลากหลายรุ่นเพื่อตอบโจทย์ที่ไม่เหมือนกัน แล้วรถเข็นเด็ก Aprica รุ่นไหน เหมาะกับคุณไปดูกันเลย แม่ที่ใส่ใจทุกรายละเอียด ทุ่มเททุกความสุขเพื่อลูกและคนในครอบครัวเป็นสำคัญ ถ้าคำว่า “ที่สุด” คือนิยามของรถเข็นเด็กที่ดีที่สุดสำหรับลูก คือคำตอบเดียวที่คุณต้องการ รถเข็นเด็ก Aprica โดดเด่นในเรื่องนวัตกรรมใหม่ล่าสุดมอบความสบาย นุ่มนวล ปกป้องลูกน้อยแบบ 360 องศา ใส่ใจในสุขภาพและเสริมสร้างพัฒนาการ เพื่อเทวดานางฟ้าตัวน้อย รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Optia รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Soraria Magic basket คุณแม่ทรงพลัง คล่องแคล่ว ขี้เล่น ถ้าคุณและลูกน้อยต้องการความคล่องตัว พร้อมทุกสถานการณ์ รถเข็นเด็กน้ำหนักเบาแต่ครบทุกฟังชันท์ที่เหนือกว่า พร้อมเติมความคล่องตัวด้วยการใช้รถเข็นสลับกับเป้อุ้มเด็กได้ง่าย เป็นตัวช่วยที่ดี ไม่ว่าสถานการณ์ไหนๆ คุณแม่ก็พร้อม รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Luxuna CTS รถเข็นเด็ก Aprica รุ่น Luxuna Light คุณแม่เด็กแนว กิ๊บเก๋ทันสมัย ไม่ชอบตามใคร สนใจทางเลือกใหม่ๆ รักอิสระและความแปลกใหม่ รถเข็นเด็ก แบบ 3 ล้อเท่ห์ๆ ไม่เหมือนใครที่ผสมผสานทุกฟังก์ชั่นอย่างลงตัว และที่โดนใจยิ่งกว่าคือ ความแข็งแรง ทนทาน ไม่ว่าจะไปไหนก็พร้อมลุยทุกสภาพพื้นผิว ใช้ง่ายพับกางสะดวกและขนาดกระทัดรัด […]
แน่นอนว่าคุณแม่ทุกบ้านจะต้องตื่นเต้นกับการทานข้าวมื้อแรกของลูก แต่นอกจากความตื่นเต้นแล้ว การฝึกลูกน้อยให้มีวินัยในการรับประทานอาหารก็ถือเป็นงานหินชิ้นนึงเลยล่ะค่ะ สำหรับคุณแม่ๆ บ้านไหนที่กำลังหาวิธีฝึกลูกน้อยให้คุ้นชินกับการทานข้าวอยู่ล่ะก็ มาดูกันดีกว่าว่าเรามีวิธีดีๆ อะไรมาฝากกันบ้าง ฝึกลูกหม่ำข้าวด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องบังคับ 1. นั่งโต๊ะและเริ่มทานข้าวพร้อมกัน อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่ว่าเด็กมักจะชอบเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ นั่นแหละค่ะ เราลองเอาเรื่องนี้มาเป็นตัวช่วยกันดีกว่า เพราะงั้นเวลาเราทานข้าว เราก็ควรให้ลูกน้อยของเรานั่งร่วมโต๊ะอาหารด้วยเนอะ ให้เค้าเห็นว่าทุกคนมีความสุขในการรับประทานอาหาร เห็นเวลาเรานำช้อนเข้าปาก ให้เค้ารู้ว่าการทานข้าวเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนทำ และเค้าก็ต้องทำด้วยเหมือนกัน แม้ตอนแรกอาจจะมีร้องงอแงบ้าง แต่ก็อย่าไปยอมแพ้ค่ะ ทำบ่อยๆ ทำให้เป็นกิจวัตร เดี๋ยวเค้าก็จะชินไปเอง 2. ทานอาหารให้เป็นเวลา คุณแม่บางบ้านอาจจะยุ่งหัวหมุนกับทั้งงานประจำและงานบ้านจนเผลอไม่ได้ทานข้าว อ๊ะๆ ถ้าคุณแม่กำลังเป็น Working Woman แบบนี้อยู่ เราขอให้คุณแม่วางงานซักนิด แล้วมาทานข้าวกับลูกน้อยเมื่อถึงเวลา เพราะเราควรฝึกให้เค้าคุ้นเคยกับเวลาที่ต้องทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารเช้า กลางวัน เย็น คุณแม่ก็ควรจะให้เค้าทานเวลาเดิมๆ นอกจากจะสร้างนิสัยให้เค้าแล้ว ยังเป็นการปรับระบบย่อยอาหารภายในร่างกายของลูกน้อยอีกด้วยน้า ถ้าเค้าคุ้นเคยกับเวลาแล้ว ทีนี้ล่ะ ไม่ต้องเรียกเลย พอถึงเวลาเค้าก็จะหิวขึ้นมาเอง 3. เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลาย เด็กหลายๆ คนเบื่อข้าว อมข้าว เพราะอาจจะเป็นเรื่องของรสชาติที่ไม่ถูกปาก หรือเมนูอาจจะซ้ำซากจำเจจนเกินไป การเปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลายเนี่ย นอกจากจะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนแล้ว ยังทำให้เค้าเพลิดเพลินไปกับเมนูใหม่ๆ ด้วยนะ […]

ร้านสินค้าแม่และเด็กที่คัดสรรนวัตกรรมของใช้แม่และเด็กที่มี
คุณภาพให้คำปรึกษาและบริการ อย่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย ปลอดภัย และมีความสุข
Online Shopping
สาขา ปิ่นเกล้า ราชพฤกษ์
สาขา Mega บางนา
สาขา Central World
สาขา The Crystal รามอินทรา
สาขา BTS วงเวียนใหญ่ (Outlet)
Copyright 2024 © Baby Gift (Retail) Co., Ltd.