ทำไม? ลูกไม่กินนมสต๊อก และวิธีฝึกลูกน้อยกินได้สำเร็จ

เพราะลูกน้อยคือที่สุดของความรักจากใจแม่ไม่มีอะไรเทียบได้ คุณแม่ทุกท่านจึงต้องเลือกและหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกน้อยเสมอ และ “น้ำนมแม่” คือหนึ่งในอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุด และดีที่สุดต่อลูกน้อย เป็นอาหารที่ไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหน  ด้วยเพราะน้ำนมนั้นกลั่นมาจากอกจากธรรมชาติในร่างกายแม่ที่มุ่งมั่นตั้งใจจะให้ลูกน้อยได้รับคุณค่าสารอาหารเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการอย่างครบถ้วน

ซึ่งการให้นมแม่ได้ยาวนานที่สุด และเต็มที่ที่สุดแก่ลูกน้อย  นอกจากจะส่งผลดีเยี่ยมต่อพัฒนาการในทุกด้าน สร้างเสริมภูมิต้านทานทำให้ลูกกินนมแม่ไม่ป่วยง่าย ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากมาย รวมถึงการให้นมแม่ยังดีต่อสุขภาพแม่ในแง่มุมต่างๆ ทั้งการช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว มีส่วนช่วยคุมกำเนิดได้ในช่วงหนึ่ง  พร้อมกับทำให้สุขภาพและรูปร่างของคุณแม่กลับคืนมาหุ่นดีได้เร็วและง่ายขึ้นด้วย

ดังนั้นเพื่อให้ลูกน้อยได้รับพลังคุณค่าสารอาหารจากน้ำนมนมแม่ให้ยาวนานเต็มที่ คุณแม่ทุกท่านจึงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำสต๊อกน้ำนมสะสมไว้ให้ลูกมากๆ  และหลายๆ ท่านก็เป็นคุณแม่นักปั๊มได้สำเร็จ มีน้ำนมแม่ให้ลูกเต็มที่ เต็มตู้แช่  แต่ทว่าปัญหาที่คุณแม่กลับต้องพบเจอ คือ ลูกไม่กินนมสต๊อก ที่ทำไว้  จึงมีคำถามมากมายว่าทำไม? ลูกจึงไม่ยอมกิน เพราะเป็นนมแม่เหมือนกัน

เราจึงชวนมาดูสาเหตุที่ลูกน้อยไม่ยอมกินนมสต๊อก พร้อมกับวิธีการฝึกลูกน้อยกินนมแม่จากสต๊อกว่าต้องทำอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาให้สำเร็จ ให้ลูกน้อยกินนมได้แม่ยาวนาน ได้รับที่สุดของโภชนาการนมแม่นี้อย่างเต็มที่ไปจนโตค่ะ

สาเหตุที่ ลูกไม่กินนมสต๊อก

  • ลูกติดกินนมแม่จากเต้า ด้วยเพราะความอบอุ่นจากเต้า การได้อิงแอบแนบชิดกับคุณแม่ตลอดเวลา ทำให้ลูกน้อยมีความสุข มีความมั่นคงปลอดภัย  ดังนั้นเมื่อคุณแม่นำนมแม่สต๊อกใส่ขวดมาให้ลูก ลูกจึงไม่ยอมกิน รวมถึงอาจไม่รู้ว่าการดูดนมจากขวดจะช่วยทำให้อิ่มได้เพราะไม่เคยกินมาก่อน
  • ลูกติดกินนมแม่อุ่นๆ เพราะน้ำนมแม่จากเต้ามีอุณหภูมิอุ่นพอเหมาะพอดี ซึ่งการกินนมสต๊อก บางครั้งคุณแม่อาจละลายน้ำนมหรืออุ่นนมแม่ได้ไม่ดี ไม่พอเหมาะแบบที่ลูกเคยกิน จึงทำให้ลูกปฏิเสธน้ำนมสต๊อกนั่นเอง
  • ลูกติดวิธีการดูดนมแม่จากเต้า ไม่คุ้นเคยกับการดูดนมจากขวด ทำให้สับสนระหว่างการดูดนมจากเต้า กับดูดนมสต๊อกจากขวดนม  เนื่องจากวิธีการดูดนมจากทั้งสองแบบไม่เหมือนกัน โดยการดูดนมแม่จากเต้าลูกน้อยจะต้องอมหัวนมและลานนมให้มิด ลึกและกว้างเพียงพอ และใช้ลิ้น ร่วมกับขากรรไกรช่วยในการดูดนมแม่ทั้งหมด แต่การดูดนมจากขวด จะใช้เพียงปากและลิ้นช่วยในการดูดเท่านั้น ไม่ต้องอ้าปากกว้างเพื่อดูดนมให้น้ำนมไหลออกมาเหมือนดูดจากเต้าแม่
  • นมสต๊อกมีกลิ่นแรง รสชาติเปลี่ยนไป ทำให้ลูกน้อยที่ติดรสชาติน้ำนมสดๆ จากเต้าคุณแม่ ไม่ยอมกินนมสต๊อก แม้คุณแม่จะนำนมสต๊อกนั้นมาละลายให้หายเย็นหรืออุ่นแล้วก็ตาม เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นหืนบ้าง และรสชาติ หรืออุณหภูมิน้ำนมก็เปลี่ยนไป ลูกจึงไม่ยอมกิน

วิธีฝึกลูกน้อยกินนมสต๊อก

เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาลูกน้อยไม่กินนมสต๊อก คุณแม่จะต้องเตรียมตัวหรือฝึกลูกน้อยให้กินนมแม่สต๊อกจากขวดล่วงหน้า และแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

  1. เริ่มฝึกให้ลูกกินนมสต๊อกให้เร็ว ก่อนคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน  โดยคุณแม่ควรฝึกให้ลูกกินนมสต๊อกได้หลังคลอดประมาณ 1 เดือน หรือก่อนกลับไปทำงานประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งน่าจะเป็นเวลาใกล้เคียงที่คุณแม่จะเริ่มปั๊มนมทำสต๊อกหลังจากที่ช่วงแรกต้องให้ลูกน้อยวัยทารกกินนมจากเต้าเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้คุ้นเคยและกินต่อเนื่อง  รวมถึงหากป้อนนมขวดให้ลูกเร็วเกินไป อาจทำให้ลูกติดใจการดูดนมขวดที่ดูดง่ายและไหลคล่องกว่าได้  ด้วยวิธีการคือ- ฝึกให้ลูกกินนมสต๊อกจากขวดวันละครั้ง โดยใช้จุกนมไซส์เล็กสุด เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลเร็วเกินไปจนลูกสำลัก และหากใช้จุกนมที่ไซส์ใหญ่เกินไป จะทำให้ลูกติดการกินนมที่ไหลเร็วไหลง่าย จนทำให้ลูกไม่ยอมกลับมากินนมจากเต้าคุณแม่ได้อีก– อาจเลือกใช้จุกนมที่คล้ายนมแม่ที่มีฐานกว้างใหญ่และมีความนุ่ม  เพื่อเลียนแบบการดูดนมให้ใกล้เคียงกับการดูดนมจากเต้า ป้องกันลูกน้อยสับสนและสร้างความคุ้นเคย  นอกจากนี้จุกนมที่คล้ายนมแม่หรือเสมือนนมแม่ มักจะออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยดูดลมเข้าไปในท้อง จนเกิดแก๊สในท้อง  จึงมีส่วนช่วยทำให้ลูกสบายท้อง ป้องกันอาการปวดท้อง แน่นท้องได้
  2. ผสมนมแม่ที่ปั๊มสดจากเต้า กับน้ำนมสต๊อกที่ละลายแล้ว  หมายถึงให้คุณแม่ผสมนมแม่ที่ปั๊มสดจากเต้า กับน้ำนมสต๊อกที่นำมาทำละลายแล้ว ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นทีละนิดทีละหน่อยทุกๆ 3 วัน เช่น- 1-3 วันแรก หากลูกดื่มนมครั้งละ 4 ออนซ์ ให้ใช้นมแม่ปั๊มสด 3 ออนซ์ ผสมนมสต๊อก 1 ออนซ์– วันที่ 4-6  ให้ผสมนมแม่ปั๊มสดเพิ่มเป็น 2 ออนซ์ ผสมนมสต๊อก 2 ออนซ์(สัดส่วนเท่ากับ 50:50) แล้วพอวันที่ 7-9 ให้เพิ่มนมสต๊อกขึ้นเรื่อยๆ เป็น 3 ออนซ์ ผสมนมแม่ปั๊มสด 1 ออนซ์ จนวันที่ 10 เป็นต้นไป คุณแม่ก็สามารถให้ลูกกินนมสต๊อกได้ทั้งขวด  หรือตามปริมาณที่ลูกดื่ม
  3. ละลายหรืออุ่นนมสต๊อก ไม่ให้มีความเย็น นั่นคือการนำนมสต๊อกที่แช่แข็งมาทำให้ละลายและมีเนื้อน้ำนมที่เข้ากันดี  ป้องกันปัญหาลูกไม่กินเพราะนมเย็นหรืออุณหภูมิผิดไป  ลูกติดกินนมอุ่นๆ หรือนมจากเต้าคุณแม่ด้วยวิธีการอุ่นนมต่างๆ  เช่น นำนมแม่จากช่องฟรีซมาทิ้งไว้ในช่องล่างของตู้เย็นธรรมดาให้นมละลายก่อน 1 วัน แล้ว ทำให้หายเย็น ด้วยการแช่ในน้ำอุ่น  แต่วิธีการนี้อาจทำให้คุณแม่ลืมทิ้งไว้ หรือน้ำที่แช่ร้อนเกินไปจนทำนมแม่เสียคุณค่าอาหารดังนั้นจึงแนะนำวิธีการใช้เครื่องอุ่นนม เพื่อความรวดเร็วและสะดวก ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลายหลาย ราคาย่อมเยาและมีการทำงานหลายฟังก์ชั่น ทั้งอุ่นนม อุ่นอาหารและละลายน้ำแข็งได้  เนื่องจากจะช่วยให้คุณแม่สามารถนำนมสต๊อกแช่งแข็งมาอุ่นในเครื่องอุ่นนมได้ทันที  สามารถตั้งอุณหภูมิได้ตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้น้ำนมร้อนหรือเย็นเกินไป  ถือเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้ลูกน้อยกินนมแม่จากสต๊อกได้ง่ายขึ้น
  4. หากลูกอายุเกิน 12 เดือน อาจเติมรสชาติเพิ่มเติม ในนมสต๊อกได้ เพราะด้วยวัยที่โตขึ้นลูกจะรับรู้และคุ้นเคยกับรสชาติต่างๆ  จนทำให้ติดรสชาติและกินนมแม่จากสต๊อกที่มีกลิ่นและรสที่แตกต่างได้ยากมากขึ้น   คุณแม่จึงอาจเติมรสชาติที่ลูกชอบลงไปในนมแม่สต๊อกนิดหน่อย เพื่อเปลี่ยนกลิ่นหืนและรสในนมแม่สต๊อก  เช่น การเติมน้ำผลไม้ อาทิ น้ำส้มคั้น น้ำแอปเปิ้ล หรือน้ำหวาน  แต่ต้องระวังไม่ใส่เยอะหรือหวานมากเกินไป  เพราะลูกจะอ้วนและฟันผุได้ หรืออาจนำนมแม่สต๊อกนั้นไปเป็นอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน เช่น ทำไอศกรีม กินนมผสมผลไม้ ทำนมปั่นสมูทตี้ เพราะลูกวัย 1 ปีสามารถกินอาหารได้หลากหลายมากขึ้น
  5. ไม่ให้ลูกกินนมอื่นๆ ควบคู่กับนมแม่ที่ทำสต๊อกไว้  เพราะหากลูกได้เคยกินรสชาติหรือกลิ่นจากนมผสมหรือนมอื่นๆ จะยิ่งทำให้ลูกกินนมสต๊อกได้ยากขึ้น หรือไม่ยอมกินเลย  แต่หากลูกไม่เคยลิ้มรสชาติของนมอื่นเลย เมื่อถึงวันที่ต้องกินนมสต๊อก ก็จะยอมกินนมได้หมดหรือกินนมแม่จากสต๊อกได้มากขึ้น

เมื่อคุณแม่รู้สาเหตุของการปฏิเสธนมสต๊อกของลูกแล้ว ก็สามารถแก้ไขและฝึกลูกได้ โดยขอเพียงหมั่นฝึกฝนตามวิธีการต่างๆ ที่แนะนำ พร้อมกับใช้ตัวช่วยต่างๆ เช่น เครื่องอุ่นนม จุกนมที่ดี  ร่วมกับการละลายนมสต๊อกที่ถูกต้อง และเทคนิคอื่นๆ โดยที่ไม่ให้ลูกกินนมอื่นๆ เด็ดขาด ก็มั่นใจได้ว่าลูกน้อยจะยอมกินนมแม่ที่สต๊อกไว้ได้ต่อเนื่อง  เติบโตแข็งแรงด้วยพลังคุณค่าจากน้ำนมแม่ยาวนานแน่นอนค่ะ

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00
คาร์ซีทเด็กโต AILEBEBE รุ่น Papatto Premium

สำหรับเด็กแรกเกิด – 7 ขวบ / 25kg (Group 0+/1/2)

7,700.00

บทความแนะนำ

การเตรียมความพร้อมให้กับลูกน้อยนั้นมีสิ่งที่จำเป็นอยู่หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ก่อนคลอดไปจนถึงการเลี้ยงดูลูกตามช่วงวัยต่าง ๆ และสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งก็คือ คาร์ซีทสำหรับลูกน้อย อย่างคาร์ซีทเด็กแรกเกิด ที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ ขณะนั่งรถยนต์ เพื่อช่วยลดโอกาสในการบาดเจ็บรุนแรงแก่เด็ก ๆ หากเกิดอุบัติที่ไม่คาดคิด  ซึ่งปัจุบันมีคาร์ซีทหลากหลายรูปแบบมากมาย ทั้ง คาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปี คาร์ซีทสำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป คาร์ซีทที่ใช้สำหรับเด็กโตอายุ 4 – 12 ปี รวมถึง คาร์ซีทแบบกระเช้า ที่นิยมใช้กันมากขึ้น คาร์ซีทกระเช้าคืออะไร เป็นแบบไหน เหมาะกับเด็กช่วงวัยใด ควรเลือกซื้ออย่างไรบ้าง มารู้จักให้มากขึ้นผ่านบทความนี้กันค่ะ  คาร์ซีทแบบกระเช้า เลือกยังไง ให้เหมาะกับลูกน้อย หาคำตอบได้ในบทความนี้  คาร์ซีทกระเช้า คืออะไร ?  คาร์ซีทแบบกระเช้า (Infant Car Seat) หรือคาร์ซีทแบบ Newborn Only เป็นคาร์ซีทที่ใช้สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 24 เดือน เหมาะสำหรับการติดตั้งหันหน้าเข้าหาเบาะรถยนต์ มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับตะกร้า และมีที่สำหรับจับถือหิ้ว สามารถวางไว้ในรถได้ และยกออกได้เลยโดยที่ไม่ต้องอุ้มเด็กออกจากคาร์ซีท ทำให้ไม่รบกวนการนอนหลับของลูกน้อยรวมถึงเคลื่อนย้ายได้ง่ายไม่ยุ่งยาก […]

 ฝึกลูกกินข้าวเอง หรือคำที่คุ้นหูกันในปัจจุบันอย่าง BLW (Baby Led Weaning) คือวิธีการที่ให้ลูกรู้จักหยิบอาหารกินเอง โดยอาหารจะไม่ใช่พวกอาหารปั่น อาหารบด แต่เป็นอาหารที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ มีความนุ่ม และหยิบจับได้ วิธีการนี้จะทำให้ลูกได้รู้จักและคุ้นเคยกับอาหารที่เป็นของแข็งมากยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้เหมาะกับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และสามารถนั่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีคนช่วย ฝึกลูกกินข้าวเอง มีประโยชน์อย่างไร           การให้ลูกกินข้าวเองนั้น นอกจากจะช่วยให้ลูกรู้จักอาหารที่เป็นของแข็งมากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย และด้านความคิดอีกด้วย 1. สร้างทัศนคติที่ดีต่อการกินของลูก            ฝึกให้ลูกกินข้าวเอง ช่วยให้ลูกมีความสุขกับการทานอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะลูกได้สนุกกับการกิน สนุกกับการเลียนแบบท่าทางระหว่างการกินอาหาร ทำให้ไม่ต้องคอยหลอกล่อให้ลูกกินข้าว 2. ฝึกพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมือ           การให้ลูกได้หยิบจับอาหาร ทำให้ได้ฝึกการใช้แรงของมือ แรกๆอาหารอาจจะมีร่วงหล่นจากมือบ้าง หรืออาหารเละคามือบ้าง แต่ก็เป็นการให้ลูกได้ฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อมือและน้ำหนักของมือ 3. ฝึกพัฒนาการการเคี้ยวและความคิด       […]

ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของคาร์ซีท#คาร์ซีทมือสอง ตามที่พ่อหมอเคยเขียนเรื่องการเลือกซื้อคาร์ซีทไว้แล้วตั้งแต่ตอนเปิดเพจครับ คลิกอ่านได้ครับที่https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1318721458224835&substory_index=0&id=1312969582133356 ก็เริ่มมีลูกเพจเริ่มถามเรื่อง “การซื้อคาร์ซีท” ในหัวข้อนอกเหนือจากคำถามเบื้องต้นครับ โดยเฉพาะเรื่อง “การซื้อคาร์ซีทมือสอง” หรือ “คาร์ซีทเก่า” ตามคำแนะนำของราชวิทยาลัยกุมาร ฯ ของสหรัฐอเมริกา … บอกไว้ว่า เรื่องความปลอดภัย … หมอย้ำเสมอตั้งแต่เปิดเพจครับ เป็นเรื่องที่ผ่อนปรนไม่ได้#หมอวินเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ References: การใช้คาร์ซีทมือสอง

น้ำนมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย  องค์การอนามัยโลกหรือ WHO และยูนิเซฟ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้วยการให้นมแม่ทันทีในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด  และควรให้นมแม่แก่ลูกน้อยเพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ตลอดจนให้นมแม่ต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารเสริมที่มีคุณค่า ปลอดภัยและเหมาะกับอายุ ตั้งแต่เดือนที่ 6 ไปจนถึงลูกอายุ 2 ปี หรือมากกว่า หรือนานที่สุดตราบเท่าที่ลูกและแม่ยังมีความต้องการนมแม่อยู่ ด้วยเพราะนมแม่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนเพื่อพัฒนาลูกทุกด้านทั้งด้านสมอง ความฉลาด การเจริญเติบโต อารมณ์จิตใจ แถมการให้นมแม่ยังช่วยให้ครอบครัวประหยัด  นมแม่สะอาด และสะดวกในการเลี้ยงลูกน้อย ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอดทุกคนตั้งใจที่จะให้นมแม่หลังคลอดทันที  ตลอดจนมองหาอุปกรณ์ช่วยในการให้นมแม่ได้สำเร็จ เพื่อให้ลูกรักได้ประโยชน์จากนมแม่อย่างเต็มที่และยาวนาน “ เครื่องปั๊มนม ”  ถือเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณแม่ยุคใหม่ให้นมแม่ได้สะดวกมากขึ้น  และเป็นตัวช่วยสำคัญในการปั๊มนมเพื่อทำสต๊อกนมแม่ไว้ในยามที่ต้องไปทำงาน  ทำให้คุณแม่หลายๆ บ้านต้องซื้อเป็นของใช้ประจำตัว แต่ก็มีคุณแม่หลายท่านมีคำถามว่าเครื่องปั๊มนมนั้นจำเป็นหรือไม่? เพราะลูกน้อยทารกสามารถดูดนมจากเต้าคุณแม่ได้   เราจึงมาชี้ให้เห็นถึงข้อดีของเครื่องปั๊มนมว่ามีความจำเป็นหรือช่วยคุณแม่ได้แค่ไหน พร้อมคำแนะนำว่าคุณแม่ควรซื้อเมื่อไร จึงจะใช้งานได้ดีและคุ้มค่าที่สุด เครื่องปั๊มนม ช่วยแม่ให้นมลูกได้อย่างไรบ้าง? เครื่องปั๊มนมได้ เลือกซื้อได้ตามทรัพย์และสไตล์ครอบครัว สำหรับบางบ้านที่คุณแม่สะดวกและมีเวลาเต็มที่เพื่อให้ลูกน้อยได้ดูดนมจากเต้าตลอดเวลา ก็เป็นเรื่องที่ดีมาก  เพราะอาจไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปั๊มนมได้  แต่จากสื่อและข้อมูลต่างๆ จะเห็นว่าเครื่องปั๊มนมในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย หลายราคา  ทำให้คุณแม่สามารถเลือกซื้อหาได้หลายแบบหลายชนิดตามกำลังทรัพย์ของตัวเอง   […]

น้ำนมของแม่นั้นเป็นอาหารที่เปี่ยมคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งจะต้องกินนมจากแม่เป็นหลัก สำหรับคุณแม่ที่อยู่บ้านเลี้ยงลูกเต็มเวลาก็อาจจะไม่ได้มีปัญหากับการสต็อกน้ำนมเอาไว้ เพราะเน้นการเอาลูกเข้าเต้าเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน การทำสต็อกน้ำนมเอาไว้นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะได้มีน้ำนมเอาไว้ให้ลูกน้อยอย่างเพียงพอ ในบทความนี้ BabyGift มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการเก็บรักษา นมแม่ มาฝากกันค่ะ จะเก็บน้ำนมอย่างไรให้ไม่เหม็นหืน ไม่บูด และคงคุณค่าทางอาหารเอาไว้ได้มากที่สุด มาดูกันเลยค่ะ ทำไมนมของแม่มีกลิ่นเหม็นหืน ? มีวิธีการเก็บรักษา นมแม่อย่างไรไม่ให้มีกลิ่นและคงคุณค่าได้นาน คุณแม่บางคนอาจพบว่านมที่ตนเองทำการสต็อกไว้นั้นมีกลิ่นเหม็นหืน ซึ่งมักจะเกิดกับนมที่เก็บไว้ในช่องแช่แข็งในตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เนื่องจากในช่วงที่ระบบละลายน้ำแข็งทำงาน นมที่แช่แข็งเอาไว้ก็จะละลายไปด้วย และเมื่อช่องแช่แข็งกลับมาเย็นจัดใหม่ ก็ทำให้น้ำนมแข็งตัวอีกครั้ง กระบวนการนี้หากเกิดขึ้นซ้ำหลาย ๆ ครั้งก็จะทำให้ไขมันในน้ำนมมีการเปลี่ยนแปลงและทำให้นมมีกลิ่นเหม็นหืนได้นั่นเองค่ะ ดังนั้นแล้วการเก็บรักษานมแม่ ในตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติแบบนี้ ก็เสี่ยงจะทำให้น้ำนมที่เก็บเอาไว้มีกลิ่นเหม็นหืนได้  สาเหตุที่นมแช่แข็งละลายมาเป็นน้ำนมแล้วมีกลิ่นเหม็นหืน ก็เพราะว่าในน้ำนมของแม่มีเอ็นไซม์ไลเปส ที่จะช่วยย่อยไขมันในน้ำนมของแม่ให้แตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ เพื่อผสมกับโปรตีนเวย์ในน้ำนมได้ดี ทำให้ร่างกายของลูกน้อยดูดซึมวิตามิน A และวิตามิน D ได้มากขึ้น ถ้าในน้ำนมของแม่มีไลเปสมากก็จะย่อยไขมันได้มาก ทำให้น้ำนมมีกลิ่นหืนนั่นเองค่ะ ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีกลิ่นหืนก็ไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยแต่อย่างใด ยังสามารถกินได้ แต่ในเด็กบางคนอาจไม่ยอมกินนมที่มีกลิ่นหืน สามารถแก้ไขได้โดยการนำน้ำนมที่ปั๊มมาใหม่ๆ ผสมกับนมที่มีกลิ่น ก็จะช่วยเจือจางกลิ่นและลดความเหม็นหืนไปได้ […]

ด้วยสถานการณ์ในตอนนี้ เชื้อไวรัสโคโรน่า มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง คนเป็นเพิ่มขึ้นวันละ 30 กว่าคนทุกวัน ลักษณะการแพร่ระบาดอยู่ในระยะที่ 2 และคนส่วนใหญ่ก็เพียงแค่ตามหาหน้ากากอนามัยที่ตอนนี้ราคาแพงขึ้นเป็นเท่าตัว หรือแม้แต่เจลแอลกอฮอล์ที่มีการทำปลอมแปลงออกมาอีกมากมายเพราะหวังกอบโกยเงิน ในช่วงวิกฤต แบบนี้ แต่บริษัทประกันต่างๆ กลับออกกรมธรรม์ประกัน เชื้อไวรัสโคโรน่า เพื่อช่วยเหลือสำหรับผู้ที่เกิดการติด เชื้อไวรัสโคโรน่า อย่างแท้จริง และทุกประกันก็ให้ความสะดวกสบายยิ่งขึ้น เมื่อตรวจพบเจอโรค ก็จ่ายทันที (Update 15/03/63) สินทรัพย์ประกันภัย แผน4 ** นอกจากนี้ ยังได้รับความคุ้มครองเพิ่ม กรณีประสบอุบัติเหตุ หากเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ จะได้รับเงินประกัน และค่าปลงศพ 2,000-8,000 บาท ตามข้อกำหนดของแต่ละกรมธรรม์ โดยเงื่อนไขสำหรับผู้เอาประกันภัย ต้องมีอายุระหว่าง 1-99 ปี แต่จะไม่คุ้มครองสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-Existing Condition) ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต SCB แผน B – Covid 19 Plus แผน 3 สินมั่นคงประกันภัย ประกันภัยการติด เชื้อไวรัสโคโรน่า กรุงเทพประกันภัย ประกัน เชื้อไวรัสโคโรน่า วิริยะประกันภัย Covid Shield แผน […]

Menu
All Categories
All Brands
All Ages
Promotions
Locations
BabyGift Family
BabyGift Care
Parents Guide
News & Event

All Categories

All Categories
All Brands
All Ages